Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และแนวทางการส่งเสริมบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดลพบุรี (สหวิทยาเขตวงพระจันทร์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 โดยจำแนกตามขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดลพบุรี (สหวิทยาเขตวงพระจันทร์) จำนวน 201 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกเป็น 2 แบบ ได้แก่ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 50 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .34-.99 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .99 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางในการส่งเสริมบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดลพบุรี (สหวิทยาเขต วงพระจันทร์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ร้อยละ การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดลพบุรี (สหวิทยาเขตวงพระจันทร์) โดยรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดลพบุรี (สหวิทยาเขตวงพระจันทร์) จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการศึกษาแนวทางการส่งเสริมบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดลพบุรี (สหวิทยาเขตวงพระจันทร์) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำความรู้และใช้คุณธรรมในการวางแผน กำหนดนโยบายการบริหารจัดการสถานศึกษาในด้านต่าง ๆ สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางการศึกษา เช่น ครู ผู้ปกครอง ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เข้ามามี ส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยจัดทำแผนงาน/ โครงการ/ กิจกรรมที่ส่งเสริม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ทำด้วยใจรักและศรัทธา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียนและสถานศึกษาอย่างยั่งยืน ให้สถานศึกษาเป็นที่พัฒนาชุมชนและพัฒนามนุษย์อย่างแท้จริง