DSpace Repository

ประสบการณ์ชีวิตของวัยรุ่นไทยที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่

Show simple item record

dc.contributor.author สุภาภรณ์ ด้วงแพง
dc.contributor.author เขมารดี มาสิงบุญ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:53:07Z
dc.date.available 2019-03-25T08:53:07Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/765
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ชีวิตของวัยรุ่นไทยที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology Qualitative Research) ผู้ให้ข้อมูลเป็นวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 13-21 ปี อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน 2549 โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก (In – depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Interview) ตามแนวทางการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลกระทำไปพร้อม ๆ กันจนข้อมูลอิ่มตัว รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้นจำนวน 24 คน ผลการวิจัยพบว่า การให้ความหมายของการสูบบุหรี่ตามการรับรู้ของวัยรุ่นผู้ให้ข้อมูล พบว่าผู้ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ให้ความหมายของการสูบบุหรี่เหมือนกันใน 3 ประเด็นสาระ ได้แก่ 1) ผู้ชายสูบบุหรี่เป็นเรื่องธรรมดา ผู้หญิงสูบบุหรี่เป็นเรื่องแปลก 2) คนที่สูบบุหรี่ไม่ใช่คนไม่ได้ แต่อาจมีปัญหา 3) การสูบบุหรี่เป็นปัญหาสังคม ส่วนการให้ความหมายของการสูบบุหรี่แตกต่างกัน โดยให้ความหายตามการรับรู้ของผู้ให้ข้อมูลที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่และปัจจุบันยังคงมีพฤติกรรมดังกล่าวคือการสูบบุหรี่มีผลเสียแต่เป็นความสุขทางใจซึ่ง ประกอบด้วย 2 ประเด็นสาระย่อย ได้แก่ การสูบบุหรี่ช่วยให้คลายเครียด และ การสูบบุหรี่เพื่อนมองว่าเท่ห์ แต่ผู้ใหญ่มองว่าไม่ดี สำหรับ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่แต่ปัจจุบันไม่สูบบุหรี่และผู้ให้ข้อมูลที่ไม่พฤติกรรมสูบบุหรี่เลย ให้ความหมายของการสูบบุหรี่ว่า การสูบบุหรี่ทำให้เสียสุขภาพ ไม่ได้ทำให้เท่ห์หรือแปลก และสาเหตุของการสูบบุหรี่ตามการรับรู้ของวัยรุ่น ประกอบด้วย 1) เครียด อยากสูบให้หายเครียด 2) อยากรู้ อยากลอง และ 3) เห็นเพื่อนสูบก็สูบตามเพื่อน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นไทยมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่นั้น บางคนอาจเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันได้ ส่วนผลของการสูบบุหรี่ตามการรับรู้ของวัยรุ่นผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 1) การสูบบุหรี่ช่วยคลายเครียดได้บ้างเป็นครั้งคราว 2) การสูบบุหรี่มีผลเสียทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น ซึ่งมี 2 ประเด็นสาระย่อย คือ ทำให้โรคร้ายเข้าสู่ร่างกายและภาพลักษณ์เปลี่ยนไป และ รบกวนคนรอบข้างทั้งกายจิต และ 3) การสูบบุหรี่ทำให้เสียเศรษฐกิจ สำหรับการเลิกสูบบุหรี่ของวัยรุ่นผู้ให้ข้อมูล ทั้งที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ ให้ความหมายการเลิกสูบบุหรี่ว่า “การเลิกสูบบุหรี่อยู่ที่ใจ” ซึ่งประกอบไปด้วย 2ประเด็นสาระย่อยๆ คือ เริ่มต้นที่ตนเอง ต้องมุ่งมั่นและใจแข็ง และ คนรอบข้างคอยช่วยเหลือ ส่วนสาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นเลิกสูบบุหรี่ คือ 1) การรับรู้ว่าบุหรี่ไม่มีประโยชน์ แต่มีโทษมากกว่า 2) กลัวพ่อแม่เสียใจและ / หรือกลัวถูกไล่ออกจากบ้าน 3) กลัวเรียนไม่จบเพราะถูกไล่ออก 4) กลัวคนรังเกียจและไม่ยอมรับ และวิธีการเลิกสูบบุหรี่ คือ 1) ถ้าอยากลองก็ลองแค่รู้แล้วเลิกเลย 2) ถ้าไม่ติดให้เลิกทันที 3) ถ้าติดให้ต่อยๆลดจำนวนลง โดยมีปัจจุยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเลิกบุหรี่ คือ 1) ความตั้งใจและเชื่อมั่นว่าจะทำได้เสร็จ 2) ปัญหาสุขภาพหรือการตระหนักถึงปัญหาสุขภาพ 3) คนรอบข้าง 4) ค่านิยมทางสังคม และ 5) กฎหมายหรือระเบียบที่เข้มงวด ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแนวทางการช่วยเหลือเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นไทย รวมทั้ง สนับสนุนให้วัยรุ่นไทยมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ที่ประสบผลสำเร็จในการเลิกสูบบุหรี่ได้ th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับเงินอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2549 มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การสูบบุหรี่ - - การป้องกันและควบคุม th_TH
dc.subject การสูบบุหรี่ th_TH
dc.subject คนไม่สูบบุหรี่ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ประสบการณ์ชีวิตของวัยรุ่นไทยที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ th_TH
dc.title.alternative Lived experience of smoker and non-smoker Thai adolescence th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2549
dc.description.abstractalternative This phenomenological study was aimed to describe life experienced of Thai teenage about smoking Twenty four participants aged between 13 and 21 lived in Chol Buri Province were interviews and focus group interviews. The finding revealed that both the smokers and non-smoker stated the meaning of smoking into 3 categories; 1) male smoker was normal, female smoker was weird 2) smoker did not mean bad person but may have problem, and 3) smoking was the social problem. However, there some differences of meaning between the present smokers and the past smokers about the meaning they presented. The present smokers revealed that smoking had bad impact but gave them good feeling which were a) smoking helped them feel less stress and b) smoking made them look good. For the past smokers or the non smokers, they state the smoking resulted in bad health and did not represent good looking or outstanding. The causes of smoking were 1) stress 2) eager to try and 3) follow friends. Impacts of smoking were 1) smoking helped to release stress sometimes 2) smoking had a bad effect that were diseases and bad image to themselves as well as others, and 3) smoking cost money For the smoking cessation, both smokers and non smokers stated the “Quitting smoking depended on self”. The meaning of smoking cessation was 1) starting from oneself with high commitment and 2) need help from others around. Causes of smoking cessation were 1) the perception the smoking was useless and harmful 2) the felling that they would make their parents upset and not allow them to stay 3) the feeling that they could not finish their time in school and 4) the social rejection. The means of smoking cessation were 1) try just to know and stop 2) quit immediately, and 3) slowly decrease the amount of smoking. The successors of smoking cessation were 1) the commitment and believes that it can be achieved 2) health problems or the realization of health problems 3) people around 4) social norm and 5) the demanding regulation or laws. The beat mean to prevent smoking was “do not try”. The successors for preventing smoking were 1) potent mind and correct social norm 2) warm family 3) good role model 4) strong communities and 5) no cigarettes produce. The finding can be used as the basic knowledge to develop the smoking prevention program for teenagers as well as promoting success smoking cesstion en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account