Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูสายผู้สอนโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำนวน 292 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เทียบสัดส่วนตามขนาดโรงเรียนแล้วทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) เกี่ยวกับการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู จำนวน 90 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .31-.80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.98 และเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำนวน 28 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .28-.82 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.94 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การหาค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างใช้การทดสอบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้น ด้านปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมออยู่ในระดับปานกลาง เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ด้านร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ และด้านร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ จำแนกตามประเภทของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 3. ประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียน ด้านความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ด้านความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีเจตคติทางบวก และด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ตามลำดับ 4. การเปรียบเทียบประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน และจำแนกตามประเภทของโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7. การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู ด้านการตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน (X2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน (X6) ด้านการร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน (X10) และด้านปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี แก่ผู้เรียน (X8) เป็นตัวพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์เท่ากับ 50.50 เปอร์เซ็นต์ ดังสมการการพยากรณ์ ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้ คะแนนดิบ Y = .812 + .199 (X2) + .267 (X6) + .222 (X10) + .113 (X8) คะแนนมาตรฐาน Z = .199 (X2) + .275 (X6) + .274 (X10) + .121 (X8)