DSpace Repository

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมุทร ชำนาญ
dc.contributor.advisor ชัยพจน์ รักงาม
dc.contributor.author ปกรณ์วิท กล้าหาญ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:19:08Z
dc.date.available 2023-05-12T04:19:08Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7657
dc.description วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ภาวะผู้นำของผู้บริหารและประสิทธิผลของโรงเรียน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน ศึกษาปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูในปีการศึกษา 2559 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จำนวน 338 คน จากตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีทั้งหมด 3 ตอน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .28 - .83มีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ .93, .90, และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ( ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ส่งผลทางบวกต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. สมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ได้ร้อยละ 73.60 โดยเขียนในรูปสมการคะแนนดิบและมาตรฐานได้ ดังนี้ Y^ = .813 + .313X22 + .093X13 + .182X21 + .094X15 + .131X11 Z^ = .408X22 + .099X13 + .216X21 + .140X15 + .128X11
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ภาวะผู้นำทางการศึกษา
dc.subject แรงจูงใจในการทำงาน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.title แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9
dc.title.alternative Performnce motivtion of techers nd ledership of school dministrtors ffecting effectiveness for the schools under the office of secondry eductionl service re 9
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to study performance motivation of teachers, relationship of administrators leadership and effectiveness of schools, relationship between performance motivation and administrators’ leadership with effectiveness of schools, factors of performance motivation of teachers, relationship of administrators affecting the effectiveness of schools, and to develop prediction equation for effectiveness of schools under the Office of Secondary Education Service Area 9. The sample used in this study were 338 teachers of 2016 academic year under the Office of Secondary Education Service Area 9, specifying sample size by using Krejcie and Morgan table Stratified random sampling by size of school was used to select the sample. The instrument used in data collection was 5 scales rating questionnaire with 3 sections, namely questionnaire on the opinion on performance motivation of teachers, leadership of school administrators and effectiveness of schools under the Office of Secondary Education Service Area 9with discrimination between .28 - .83, reliability was to.93, .90, and .92 respectively. Computer program was used in data analysis. Statistics used in data analysis were mean ( ), standard deviation (SD), Pearson’s product moment correlation and Stepwise multiple regression analysis. Results of study were that: 1. The performance motivation of teachers of schools under the Office of Secondary Education Service Area 9 in overall and each aspect were at high level. 2. The performance motivation of teachers and leadership of administrators had positive relationship with school effectiveness under the Office of Secondary Education Service Area 9 at high levels with .01 level of significance. 3. The factors on the performance motivation of teachers and leadership of administrators affected positively on the effectiveness of schools under the Office of Secondary Education Service Area 9 at .01 level of significance. 4. The prediction equation for effectiveness of schools under the Office of Secondary Education Service Area 9 can predict the school effectiveness up to 73.60 percent. The raw scores equation were as follows: Y^ = .813 + .313X22 + .093X13 + .182X21 + .094X15 + .131X11 Z^ = .408X22 + .099X13 + .216X21 + .140X15 + .128X11
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account