DSpace Repository

ผลของการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อพฤติกรรมการติดสมาร์ทโฟนของนิสิตปริญญาตรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดลดาว ปูรณานนท์
dc.contributor.advisor เพ็ญนภา กุลนภาดล
dc.contributor.author อภิญญา ปิตินิตย์นิรันดร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:16:52Z
dc.date.available 2023-05-12T04:16:52Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7635
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง ต่อพฤติกรรมการติดสมาร์ทโฟนของนิสิตปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2561 ที่มีคะแนนจากการทำแบบทดสอบในระดับมากและสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 20 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง 10 คน และกลุ่มควบคุม 10 คน การแบ่งกลุ่มจะใช้การสุ่มเลือก โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แบบทดสอบการติดสมาร์ทโฟน และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญ ความจริงที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 45-60 นาที ดำเนินการทดลองสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ โดยใช้แบบแผน การวิจัยเชิงทดลองสองตัวประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวประกอบ แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังทดลองและระยะติดตามผล สถิติที่ใช้ทำการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีนิวแมน-คูลส์ ผลการศึกษา พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองและระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นิสิตปริญญาตรีในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการติดสมาร์ทโฟน แตกต่างจากกลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตปริญญาตรีในกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการติดสมาร์ทโฟนในระยะหลังทดลองและระยะติดตามผลต่ำกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
dc.subject สมาร์ทโฟน
dc.title ผลของการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อพฤติกรรมการติดสมาร์ทโฟนของนิสิตปริญญาตรี
dc.title.alternative The effects of relity group counseling theory on smrtphone ddicted behvior of undergrdute students.
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This quasi-experimental research aimed to study the effects of reality group counseling theory on Smartphone Addicted Behavior of undergraduate students, The sample group were undergraduate students at Burapha University, in the academic year of 2018, who had high smartphone addicted behavior score from Smartphone Addiction Self-Test, volunteered to participate in the study. The 20 samples were randomly assigned into two groups; experiment group and controlled group. The research materials were smartphone addiction self-test and reality group counseling theory program. The intervention was administered for 10 session of 45-60 minutes duration, 2-3 week for 4 weeks. The research design was two-factors experiment with repeated measures on one factor. The study was divided into 3 phases: the pre-test phases, the post-test phases and the follow-up phases. The data were analyzed by using repeated measures analysis of variance: one between-subjects variable and one within-subjects variable and tested of pair differences, using Newman-Keul's Method. The results were that there was statistically interactions between testing methods and sessions significantly at .05 level. The experimental and control group had smartphone addicted scores after post-test and follow up session significantly difference at statistical level .05. The experimental group had the smartphone addicted scores had in post-testing session and follow up session lower than the pre-testing session significantly at statistical level to .05
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา
dc.degree.name วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account