Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ในเขตพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์โดยวิธีส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารว่าเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก จำนวน 95 คน เลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป้นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยง =.78 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย t-test และ Oneway ANOVA
ผลการวิจัย
1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล เพศชาย การวินิจฉัยโรคครั้งแรกคือ กระเพาะอาหารอักเสบ มีอายุระหว่าง 41-60 ปี มีการศึกษาในระดับประถมศึกษา อาชีพรับจ้าง
2. พฤติกรรมการบริโภคอาหารและสิ่งเสพติด ซึ่งผู้ป่วยบริโภค เป็นประจำทุกวัน และความถี่สูงที่สุดได้แก่ การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การรับประทานอาหารจำพวก เนื้อสัตว์ นม และถั่ว การดื่มแอลกอออล์ การรับประทานอาหารอิ่มเกินไป การรับประทานอาหารเผ็ดจัด การดื่มกาแฟ และรับประทานยากระตุ้นประสาทต่าง ๆ เรียงตามลำดับ
3. ความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมการบริโภคอาหารและสิ่งเสพติด ในผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก กับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ การศึกษา อายุ อาชีพ รายได้ และยาแก้ไขแก้ปวด โดยพฤติกรรมต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ กล่าวคือ พฟติกรรมในการรับประทานอาหารรสเค็ม รสเปรี้ยว และรสหวานจัด สัมพันธ์กับการศึกษา, รสเค็มจัด, ดื่มเบียร์สัมพันธ์กับอายุ, อาหารรสเผ็ดสัมพันธ์กับอาชีพ, รสจัดมีความสัมพันธ์กับเพศและการศึกษา, การดื่มแอลกอฮอล์และยาชูกำลังมีความสัมพันธ์กับเพศ การศึกษา และรายได้, การสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับเพศ และอายุ การดื่มเครื่องดื่มชูกำลังมีความสัมพันธ์กับการรับประทานยาแก้ไขแก้ปวด, การดื่มน้ำอัดลมมีความสัมพันธ์กับเพศ และอาชีพ
4. อารมณ์ เครียด หรืออาการที่พบเกี่ยวข้องกับความเครียดในผู้ป่วยโรคและในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก คือ ความรู้สึกไม่มีค่า ไม่มีคนหวังดี และขาดความรัก, อาการนอนไม่หลับ, ขาดความสุขไม่ปลอดโปร่งใจ, รุ้สึกไม่สดชื่นกระตือรือล้น
5. ผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กที่มี เพศ, รายได้, อายุ และการศึกษาต่างกัน มีความเครียดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05