dc.contributor.advisor |
ธนวิน ทองแพง |
|
dc.contributor.advisor |
จิราพรรณ์ พงสรภัคสรณ์ |
|
dc.contributor.author |
ธวัชชัย งามเสงี่ยม |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T04:16:48Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T04:16:48Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7618 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมโครงการเศรษฐกิจพอเพียง 3) สร้างสมการพยากรณ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ การบริหารงานทั่วไปและการมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร รองผู้บริหาร และครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำนวน 354 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .33-.89 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับอยู่ที่ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาระยอง เขต 2 โดยรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านการบริหารงานวิชาการ ปัจจัยด้านการบริหารงานบุคคล และปัจจัยด้านการบริหารงานงบประมาณ ในขณะที่ปัจจัยด้านการบริหารงานทั่วไป อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาระยอง เขต 2 ได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหาร งานวิชาการ ปัจจัยด้านการบริหาร งานบุคคล ปัจจัยด้านการบริหารงานงบประมาณ ปัจจัยด้านการบริหารงานทั่วไป และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม โดยมีสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ปัจจัยที่มีอำนาจพยากรณ์การส่งเสริมโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 เรียงลำดับจากตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุด คือ ปัจจัยด้าน การบริหารงานบุคคล (X2) ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม (X5) ปัจจัยด้านการบริหารงานทั่วไป (X4) ปัจจัยด้านการบริหาร งานวิชาการ (X1) และปัจจัยด้านการบริหารงบประมาณ (X3) โดยปัจจัยทั้งหมด ร่วมกันพยากรณ์การส่งเสริมโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ได้ร้อยละ 86.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้ Y = 6.438 + .228 (X2) + .255 (X5) + .222 (X4) + .177 (X1) + .140 (X3) |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
เศรษฐกิจพอเพียง -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) |
|
dc.subject |
เศรษฐกิจพอเพียง |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
|
dc.title |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 |
|
dc.title.alternative |
Fctors influencing on supporting the philosophy of sufficiency economy projects of schools in the ryong primry eductionl service re office 2. |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this research were to study the factors influencing the promotion of the Philosophy of Sufficiency Economy projects of schools in the Rayong Primary Educational Service Area Office 2. The factors in this study were: 1) academic administration; 2) budget administration; 3) personnel administration; 4) general affairs administration; and 5) educational participation. The samples were school directors, deputy school directors, and teachers. The total of 354 samples were selected by multistage sampling technique. The instruments used for collecting the data was a five-scale rating questionnaire. The item discrimination power of the questionnaire was between 0.33-0.89 and the reliability of the whole questionnaires was 0.98. The statistics used for data analysis were Mean, frequency, Standard Deviation, Pearson product moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The research findings were as follows: 1. The factors influencing the promotion of the Philosophy of Sufficiency Economy projects of schools in the Rayong Primary Educational Service Area Office 2 were mostly found at a high level ranging from the following high to lower levels: 1) educational participation; 2) academic administration; 3) personnel administration; and 4) budget administration. The general affairs administration was found at the highest level. 2. Academic administration, personnel administration, budget administration, general affairs administration and educational participation have a positive relationship with the promotion of the Philosophy of Sufficiency Economy at .01. 3. The factors that could predict the promotion of the Philosophy of Sufficiency Economy projects of schools in the Rayong Primary Educational Service Area Office 2 were personnel administration (X2), educational participation (X5), general affairs administration (X4), academic administration (X1) and budget administration (X3). All factors could predict the s promotion of the Philosophy of Sufficiency Economy projects as a whole at 86.5 percent with the significant difference of p < .01. The raw data equation was shown as follows: Y = 6.438 + .228 (X2) + .255 (X5) + .222 (X4) + .177 (X1) + .140 (X3) |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารการศึกษา |
|
dc.degree.name |
การศึกษามหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|