DSpace Repository

ความสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมโภชน์ อเนกสุข
dc.contributor.advisor สุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.author เกศริน กูลนรา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:16:46Z
dc.date.available 2023-05-12T04:16:46Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7608
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะของทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อศึกษาสหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเพื่อวิเคราะห์ ค่าน้ำหนักทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำนวน 355 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบและนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาสหสัมพันธ์คาโนนิคอล ผลการวิจัยทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีอยู่ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการแก้ปัญหา ด้านการให้เหตุผล ด้านการสื่อสารสื่อความหมายและการนำเสนอคะแนนด้านการเชื่อมโยง และด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ระดับคุณภาพโดยรวมของทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ด้านการแก้ปัญหา ด้านการให้เหตุผล ด้านการสื่อสารสื่อความหมาย และการนำเสนอ คะแนนด้านการเชื่อมโยง อยู่ในระดับดี ส่วนด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อยู่ในระดับผ่าน ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาคณิตศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้เชิงมโนทัศน์ และด้านความรู้เชิงขั้นตอนหรือกระบวนการ ระดับคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับผ่าน เมื่อแยกรายด้านทั้งด้านความรู้เชิงมโนทัศน์ และด้านความรู้เชิงขั้นตอนหรือกระบวนการระดับคุณภาพอยู่ในระดับผ่าน สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างกลุ่มตัวแปรอิสระ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้แก่ การแก้ ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร สื่อความหมาย และการนำเสนอ การเชื่อมโยง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กับกลุ่มตัวแปรตามความรู้ทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ความรู้เชิงมโนทัศน์ ความรู้เชิงขั้นตอนหรือความรู้เชิงกระบวนการ มีค่าเท่ากับ .845 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 น้ำหนักความสำคัญคาโนนิคอล (Canonical weights) ระหว่าง ชุดตัวแปรอิสระทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ กับชุดตัวแปรตามความรู้ทางคณิตศาสตร์มีชุดตัวแปรอิสระ พบว่า การแก้ปัญหา มีค่าน้ำหนักเท่ากับ .352 การให้เหตุผล มีค่าน้ำหนักเท่ากับ .412 การสื่อสาร สื่อความหมาย และการนำเสนอ มีค่าน้ำหนักเท่ากับ .329 การเชื่อมโยง มีค่าน้ำหนักเท่ากับ .544 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีค่าน้ำหนักเท่ากับ .367 ส่วนความสัมพันธ์ในชุดตัวแปรตาม คือ ความรู้เชิงมโนทัศน์ มีค่าน้ำหนักเท่ากับ .565 ความรู้ เชิงขั้นตอนหรือความรู้เชิงกระบวนการ มีค่าน้ำหนักเท่ากับ .506 หมายถึง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการคะแนนมาตรฐานของทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (U) และความรู้ทางคณิตศาสตร์ (W) ได้ดังนี้ U = 0.352Zx1 + 0.412Zx2 + 0.329Zx3 + 0.544Zx4 + 0.367Zx5 W = 0.565Zy1 + 0.506Zy2
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.title ความสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด
dc.title.alternative Cnonicl correltion between mthemticl skill nd process nd knowledge in mthemticl of prtomsuks 6 students in trt primry eduction re office
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research has 3 purposes: 1) to study features of mathematical skills, process and knowledge of mathematical of pratomsuksa 6, 2) to study the Canonical Correlation between mathematical skills and process and knowledge of mathematical of the students, 3) to study the weight of canonical correlation between Mathematical skills and process and knowledge in mathematical of pratomsuksa 6. The samples were 355 Pratomsuksa 6 students in the second semester of academic year 2015 in Trat Primary Education Area Office. The data were students mathematic scores, they were analyzed to study the canonical correlation. The research’s results were that: the skills were; Problem Solving, Reasoning, Communications and presentation, Connections and Creativity. The quality of Mathematical skills and process were at good level. When considered in each aspect, it was found that; Problem Solving, Reasoning, communication and presentation and connection were at good level. Creativity was at satisfied level. The knowledge in mathematical has two dimensions; the Conceptual knowledge and procedural knowledge. The quality such as, conceptual knowledge and procedural knowledge had passed the criteria. The canonical correlation between independent variables of mathematical skills and process and knowledge in mathematical was .845 with statistical significant at the .05 level. The Canonical weights of independent variables of mathematical skills and process were: Problem Solving was at .352, Reasoning was at .412, Communications and presentation was at .329, Connections was at .544 and creativity was at .367. Canonical weights of dependent variables knowledge in mathematical procedural knowledge was at .565 and conceptual knowledge was at .506. It can be written as a standardized equation of mathematical skills and process (U) and knowledge in mathematical (W) U = 0.352Zx1 + 0.412Zx2 + 0.329Zx3 + 0.544Zx4 + 0.367Zx5 W = 0.565Zy1 + 0.506Zy2
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account