Abstract:
มนุษย์จำเป็นต้องประกอบอาชีพเลี้ยงตนซึ่งอาจทำให้บุคคลเกิดความเครียดขึ้นได้ ดังนั้นทำอย่างไร บุคคลจึงจะควบคุมให้ความเครียดที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพนั้นอยู่ในระดับเหมาะสมและบริหารให้ความเครียดเกิดในระยะเวลาพอควร เพื่อให้เกิดประโยชน์และไม่เกิดโทษต่อชีวิตวึ่งพบว่าสิ่งแรกที่บุคคลจะต้องกระทำคือ การสร้างความตระหนักรู้เพื่อให้บุคคลสามารถตระหนักรู้ถึงความเครียดในอาชีพนั้นๆ ของตน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่จะช่วยวัดเพื่อประเมินให้บุคคลเกิดการรับรู้และแสวงหาวิธีการฝึกทักษะเพื่อเรียนรู้การควบคุมความเครียดนั้นๆ การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่างที่ประกอบอาชีพในพื้นที่เขตการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ซึ่งได้รับผลกระทบจากความต่อเนื่องของแผนการพัฒนาเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จำนวน 531 คน ใน 8 กลุ่มอาชีพ คือ กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานบริหารและงานจัดการ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานเสมียนพนักงาน กลุ่มผู้ปฏิบัติงานอาชีพเกี่ยวกับการค้า กลุ่มผู้ปฏิบัติงานอาชีพด้านบริการ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการผลิตและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกัน กลุ่มทหาร-ตำรวจดำเนินการสร้างแบบสำรวจความเครียดในอาชีพโดยอาศัยกรอบแนวคิดในการสำรวจความเครียดในอาชีพของ Osipow and Spokane (1987) ได้ข้อกระทงแบบสำรวจความเครียดในอาชีพจำนวน 140 ข้อ ประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ด้าน คือ ความเครียดที่บุคคลรับรู้ตามบทบาท (Occupational Role) ความรู้สึกบีบคั้นเนื่องจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล (Personal Stratin) และทักษะในการเผชิญปัญหาของแต่ละบุคคล (Personal Resource) แล้วดำเนินการหาคุณภาพความตรง และได้ค่าความเที่ยงทั้งฉบับ 0.92 และแต่ละด้าน 0.88 0.92 และ 0.91 ตามลำดับนำแบบสำรวจความเครียดในอาชีพไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ประกอบอาชีพในเขตพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2545 จำนวน 750 ฉบับ ได้รับคืนจำนวน 531 ฉบับวิเคราะห์หาความเที่ยง น้ำหนักองค์ประกอบ และวิเคราะห์หาเกณฑ์ปกติเปอร์เซนต์ไทล์จำแนกประเพศแต่ละด้านเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาความเครียดในอาชีพจากเส้นภาพ (profile) ของแต่ละบุคคลต่อไป