DSpace Repository

ความรู้ ทัศนคติ และความต้องการการคลอดธรรมชาติของหญิงตั้งครรภ์ ครอบครัว และผู้ให้บริการ ณ โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา

Show simple item record

dc.contributor.author วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์
dc.contributor.author รัชนีวรรณ รอส
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:53:07Z
dc.date.available 2019-03-25T08:53:07Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/759
dc.description.abstract แม้ว่าประเทศไทยจะต้องมีการคลอดธรรมชาติมากเพราะว่ามีอัตราการผ่าตัดคลอดสูง แต่การคลอดธรรมชาติในประเทศไทยก็ยังมีน้อย ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาความรู้ ทัศนคติและความต้องการการคลอดธรรมชาติของหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 337 คน ครอบครัวจำนวน 337 คน และผู้ให้บริการในหน่วยสูติกรรม คือ แพทย์และพยาบาลที่ทำงานอยู่ในหน่วยฝากครรภ์ ห้องคลอด และหลังคลอดทั้งหมดจำนวน 42 คน ณ โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2549 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ด้วยแบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และความต้องการคลอดธรรมชาติของหญิงตั้งครรภ์ ครอบครัวและผู้ให้บริการที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคโดยแบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติของหญิงตั้งครรภ์ เท่ากับ .82 ของครอบครัว เท่ากับ .77 และของผู้ให้บริการเท่ากับ .70 ส่วนแบบสอบถามความต้องการการคลอดธรรมชาติของหญิงตั้งครรภ์เท่ากับ .85 ของครอบครัวเท่ากับ .84 และของผู้ให้บริการเท่ากับ .79 รวมทั้งแบบสอบถามปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการการคลอดธรรมชาติของผู้ให้บริการ เท่ากับ .85 และหาค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามความรู้ โดยแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติของหญิงตั้งครรภ์เท่ากับ .67 ของครอบครัว เท่ากับ .64 และของผู้ให้บริการเท่ากับ .67 ผลการศึกษาพบว่า หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 62.9 ( =23.20, SD=3.321) และ 62.6 ( =23.16, SD=3.481) ตามลำดับ ส่วนผู้ให้บริการส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับมาก (คะแนนอยู่ในช่วง 25-35) ร้อยละ 90.5 หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีทัศนคติหรือการรับรู้ต่อการคลอดธรรมชาติโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.16, SD=0.997 และ =3.17, SD=1.012 ตามลำดับ) ในขณะเดียวกันก็มีความต้องการการคลอดธรรมชาติโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.44, SD=0.962 และ =3.45, SD=0.992 ตามลำดับ) เช่นกัน ส่วนผู้ให้บริการมีทัศนคติหรือการรับรู้ต่อการคลอดธรรมชาติโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ( =3.52, SD=0.931) ในขณะเดียวกันก็มีความต้องการการคลอดธรรมชาติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.95, SD=0.813) เช่นกัน แต่ขณะเดียวกันผู้ให้บริการก็มีปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการการคลอดธรรมชาติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.53, SD=0.974) เช่นกัน เนื่องจากโรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อต้องการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ผู้ให้บริการด้านสูติกรรมจึงพยายามนำแนวคิดการคลอดธรรมชาติเข้ามาให้บริการเพราะทราบว่าก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้คลอด ครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม และเป็นการส่งเสริมให้ผู้คลอดมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ อารมณ์ และสังคม ทำให้เกิดความมั่นใจในการคลอด ช่วยลดความวิตกกังวล ผลที่ตามมาคือ ลดระยะเวลาในการคลอด ลดการใช้ยาระงับปวด ลดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด ลดการใช้สูติศาสตร์หัตถการและลดค่าใช้จ่าย จึงมีการเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการคลอดธรรมชาติมาให้ความรู้แก่ผู้ให้บริการด้านสูติกรรม จากการวิจัยครั้งนี้จึงพบว่าผู้ให้บริการมีทัศนคติหรือการรับรู้ต่อการคลอดธรรมชาติโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีและในขณะเดียวกันก็มีความต้องการให้บริการการคลอดธรรมชาติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน ซึ่งความต้องการการคลอดธรรมชาติในการศึกษาครั้งนี้ที่สูงสุดมี 5 ข้อ คือ ต้องการให้ทารกดูดนมมารดาในช่วงชั่วโมงแรกหลังคลอด ต้องการให้สามีหรือครอบครัวเข้ามีส่วนร่วมตั้งแต่ระยะแรกหลังคลอด ต้องการการบริหารกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานทำให้การคลอดง่ายขึ้น ต้องการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเผชิญกับความเจ็บปวด และต้องการมีสิทธิในการร่วมตัดสินใจในการคลอดธรรมชาติด้วย ดังนั้นจึงต้องพัฒนารูปแบบในการให้บริการการคลอดธรรมชาติที่มีการเตรียมหญิงตั้งครรภ์ทั้งเรื่องความรู้และการสนับสนุนการคลอดธรรมชาติให้ประสบความสำเร็จและมีการให้บริการมากขึ้นในประเทศไทยเพื่อให้บริการที่มีคุณภาพประสบความสำเร็จและผู้รับบริการเกิดความประทับใจต่อการคลอดธรรมชาติ ตลอดจนควรมีการศึกษาในโรงพยาบาลอื่นๆมากขึ้นเพื่อให้ผลการวิจัยได้รับการยอมรับและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณแผ่นดินปี 2549 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การคลอด th_TH
dc.subject สตรีมีครรภ์ - - ทัศนคติ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ความรู้ ทัศนคติ และความต้องการการคลอดธรรมชาติของหญิงตั้งครรภ์ ครอบครัว และผู้ให้บริการ ณ โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา th_TH
dc.title.alternative Knowledge of, attitudes toward, and needs related to natural childbirth as perceived by pregnant women, their families, and health care professionals at Chacheongsao Hospital th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2550
dc.description.abstractalternative Although there is a need for more natural childbirths in Thailand due to a high rate of cesarean sections, little is known in general about natural childbirth in Thailand. Therefore, this descriptive study aimed to examine the knowledge of, attitudes toward, and needs related to natural childbirth as perceived by Thai pregnant women, their families, and Thai health care professionals. Three hundred and thirty-seven pregnant women (20-29 years old) and 337 family member (mostly partners and mothers who accompanied them) were recruited at the prenatal clinic of Chacheongsao Hospital, Thailand. 42 physicians and nurses who worked in the maternity area of the same hospital were recruited from all maternity patient units. Self-administered questionnaires (with alpha ranging from .70-.85) developed by the researchers were administered to the participants from July 2006 to February 2007. Results revealed that most pregnant women and their families had a high level of knowledge. The pregnant women, families, and professionals needs as perceived by the women and families in the study included breastfeeding within an hour after birth, begin with the partner and the newborn right after delivery, exercise preparation for labor and delivery, pregnant woman’s psychological preparation, and being treated with respect. Interventions designed to educate and support the pregnant women and families should be implemented so that natural childbirth levels in Thailand will increase. Also, replicate studies in other hospital settings in Thailand should be conducted to provide generalizable research results. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account