DSpace Repository

การผลิตอัลคาไลน์โปรตีเอสจากเชื้อแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากดินโดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงแบบเติมกะ

Show simple item record

dc.contributor.advisor กรองจันทร์ รัตนประดิษฐ์
dc.contributor.advisor เศรษฐวัชร ฉ่ำศาสตร์
dc.contributor.author กัญญาวีร์ คูคำ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:16:43Z
dc.date.available 2023-05-12T04:16:43Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7589
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอนไซม์อัลคาไลน์ โปรตีเอสจากเชื้อแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากตัวอย่างดินภายในประเทศ ด้วยการสังเกตวงใสรอบ โคโลนีเดี่ยวบนอาหารเลี้ยงเชื้อแข็ง BMSM พีเอช 10 และเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการสร้าง เอนไซม์ในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว BMSM พีเอช 10 ที่อุณหภูมิ 37 ºC พบว่าเชื้อแบคทีเรียจำนวน หกไอโซเลทได้แก่ 012, 013, 032, 042, 053 และ 071 มีแนวโน้มในการสร้างเอนไซม์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากตัวอย่างดินทั้งหมด 157 ไอโซเลท และเมื่อนำมาศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอนไซม์ พบว่าแบคทีเรียไอโซเลท 032 มีประสิทธิภาพในการสร้างเอนไซม์ดีที่สุด เมื่อใช้อาหารสูตร BPMM พีเอช 10 ที่มีเด็กซ์ทรินเป็นแหล่งคาร์บอนและกากถั่วเหลืองเป็นแหล่งไนโตรเจน ภายใต้อุณหภูมิ 37 ºC ซึ่งการจัดจำแนกชนิดของแบคทีเรียด้วยวิธี 16S rDNA sequencing พบว่ามีความใกล้เคียงกับเชื้อแบคทีเรีย Bacillus cohnii ที่ระดับ 98.27 % เมื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเทคนิคในการเพาะเลี้ยง B. cohnii สำหรับการผลิตอัลคาไลน์โปรตีเอสในถังหมักขนาด 5 ลิตร พบว่าการผลิตเอนไซม์ของ B. cohnii มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเพาะเลี้ยงด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงแบบเติมกะโดยใช้อาหารเพาะเลี้ยง BPMM พีเอช 10 ที่มีเด็กซ์ทรินเป็นแหล่งคาร์บอนและกากถั่วเหลืองเป็นแหล่งไนโตรเจน ความเข้มข้น 2 เท่าไม่มีการเติมสับสเตรทและไม่มีการควบคุมค่าพีเอชที่อุณหภูมิ 37 ºC อัตราการให้อากาศ 1vvm ความเร็วใบกวน 500 rpm เติมอาหารที่ระยะ deceleration phase ด้วยอาหารที่มีองค์ประกอบและความเข้มข้นเดียวกันกับในถังหมัก อัตราคงที่ที่ 0.90 L/h ทำให้สามารถวัดค่าอัตราการเจริญจำเพาะ (µ) ได้ 0.124 h-1 อัตราการจำเพาะของการสร้างเอนไซม์ (qp ) ได้ 1.785 U/g cell.h ค่ากิจกรรมเอนไซม์และอัตราการสร้างเอนไซม์สูงสุดเท่ากับ 9.51 U/mL และ 0.396 U/mL/h ตามลำดับ โดยค่าที่วัดได้สูงกว่าเทคนิคการเพาะเลี้ยงแบบกะถึง 1.6 เท่า
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เอนไซม์โปรติเอส
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
dc.subject โปรติเนส
dc.title การผลิตอัลคาไลน์โปรตีเอสจากเชื้อแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากดินโดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงแบบเติมกะ
dc.title.alternative The production of lkline protese by bcteri isolted from soil using fed-btch cultivtion technique
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research was to study the alkaline protease production from bacteria isolated from soil in Thailand byobservation the appearances of clear zone around bacterial colony on BMSM agar, pH 10, and comparing the crude enzyme activity obtained from culture brothof BMSM, pH 10, at 37 ºC. The results indicated that six bacterial isolates including of 012, 013, 032, 042, 053, and 071 showed the highest alkaline protease activity at 48 h. After the optimization of enzyme production in 500 mL-baffle flask, bacteria isolate 032 produced the highest activity when cultivated in BPMM medium, pH 10, with dextrin and soybean meal as carbon and nitrogen source at 37 ºC. The strain was identified by 16S rDNA sequencing analysis as Bacillus cohnii at 98.27 % similarity. The efficiency of various cultivation techniques for alkaline protease production from B. cohnii were observed in 5-L fermenter. The results revealed that cultivation of B. cohniiusing fed-batch fermentation technique in BPMM medium, pH 10, containing dextrin and soybean meal as carbon and nitrogen source with non-substrate adding and non-pH controlling, at 37 ºC, aeration rate 1 vvm, agitation speed 500 rpm, feeding with the same medium concentration when its growth was deceleration phase at dilution rate of 0.90 L/h were the most suitable. Consequently, the specific growth rate (µ) and specific alkaline protease production rate (qp ) of 0.124 h-1 and 1.785 U/g cell.h, respectively, and the maximum enzyme activity and enzyme productivity of 9.51 U/mL and 0.396 U/mL/h that were higher than using batch cultivation technique for 1.6 times.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account