DSpace Repository

การย่อยสลายน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว และน้ำมันดิบโดยแบคทีเรียที่สามารถผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
dc.contributor.advisor สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
dc.contributor.author สมฤทัย ลูกจันทร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:16:42Z
dc.date.available 2023-05-12T04:16:42Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7586
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract ในการศึกษาครั้งนี้้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการย่อยสลายน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว และน้ำมันดิบ ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน โดยใช้แบคทีเรียทั้งหมด 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Bacillus subtilis สายพันธุ์ SE1, SD4 และแบคทีเรีย Bacillus siamensis สายพันธุ์ SJ1#1 ที่มีความสามารถในการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพในกลุ่มลิโปเปปไทด์ จากผลการทดลองพบว่า แบคทีเรียทั้ง 3 สายพันธุ์สามารถเจริญและย่อยสลายน้ำมันทั้ง 4 ชนิดภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจนได้ดีกว่าสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน โดยเมื่อพิจารณาจากการเจริญลักษณะทางกายภาพของน้ำมันพีคที่เกิดขึ้นจากการย่อยสลายน้ำมัน และปริมาณก๊าซทั้งหมด ที่เกิดขึ้นบ่งชี้ว่า B. subtilis สายพันธุ์ SE1 มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการย่อยสลายน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว และน้ำมันดิบ รองลงมาคือ แบคทีเรีย B. subtilis สายพันธุ์ SD4 และ B. siamensis สายพันธุ์SJ1#1 ตามลำดับ ทั้งภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจนต่อมาทำการศึกษาการย่อยสลายน้ำมันทั้ง 4 ชนิด ของ B. subtilis สายพันธุ์ SE1 ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน โดยวิธีการวิเคราะห์ GC-MS ผลการศึกษาพบว่า ภายใน 35 วันมีการย่อยสลายน้ำมันเบนซิน โดยสามารถย่อยสลายทั้งสารตั้งต้นและสารตัวกลางได้ค่อนข้างสมบูรณ์ ส่วนน้ำมันอีก 3 ชนิด พบว่าสามารถย่อยสลายสารตั้งต้น เปลี่ยนเป็นสารตัวกลางเพียงบางส่วน โดยสามารถย่อยสลายได้ ตามลำดับ ดังนี้ น้ำมันเบนซินดีที่สุด รองลงมาคือ น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว และน้ำมันดิบ ตามลำดับ ดังนั้น B. subtilis สายพันธุ์ SE1 น่าจะมีความสามารถในการนำไปประยุกต์ใช้ในการฟื้นฟู สภาพสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนด้วยน้ำมันในอนาคตต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม -- การย่อยสลายทางชีวภาพ
dc.subject สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจุลชีววิทยาประยุกต์
dc.subject แบคทีเรีย
dc.title การย่อยสลายน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่องที่ใช้แล้ว และน้ำมันดิบโดยแบคทีเรียที่สามารถผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ
dc.title.alternative Biodegrdtion of diesel, gsoline, used lubricting oil, nd crude oil by biosurfctnt producing bcteri
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The aim of the study was to study the efficiency for biodegradation of diesel, gasoline, used lubricating oil and crude oil under aerobic and anaerobic conditions by 3 bacterial strains including Bacillus subtilis strain SE1, SD4 and Bacillus siamensis strain SJ1#1 which were able to produce lipopeptide biosurfactant. The results showed that all 3 strains of bacteria can grow and degrade 4 types of oil under aerobic condition more than anaerobic condition. When considering growth, physical characteristics of oil, spectrogram of degradation oil and total gas production indicated that B. subtilis strain SE1 showed the efficiency of diesel, gasoline, used lubricating oil and crude oil degradation under aerobic and anaerobic conditions while B. subtilis strain SD4 and B. siamensis strain SJ1#1 show less efficiency, respectively. Then the study of 4 types of oil degradation by B. subtilis strain SE1 under aerobic condition analysed using GC-MS. The study found that B. subtilis strain SE1 demonstrated completely degraded gasoline and its metabolites in 35 days. While the other types of oil can partially degrade as of following order gasoline diesel, used lubricant oil and crude oil, respectively. Therefore B. subtilis strain SE1 could be applied for bioremediation of the environment is contaminanted with petroluem oil in the future.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จุลชีววิทยาประยุกต์
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account