DSpace Repository

การใช้หอยแมลงภู่ (Perna viridis) เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพการปนเปื้อนของสาร Bisphenol A ในบริเวณชายฝั่งทะเล

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมพร มูลมั่งมี
dc.contributor.advisor ถนอมศักดิ์ บุญภักดี
dc.contributor.advisor ชูตา บุญภักดี
dc.contributor.author หยาดเพชร โอเจริญ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:16:42Z
dc.date.available 2023-05-12T04:16:42Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7585
dc.description ดุษฎีนิพนธ์(ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract Bisphenol A (BPA) และ 17β-estradiol (E2 ) เป็นสารในกลุ่มรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ (endocrine disrupting chemicals; EDCs) ที่มีผลต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมและระบบสืบพันธุ์ของสัตว์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณการปนเปื้อนของสาร BPA และ E2 ในแหล่งน้ำรวมทั้งหอยแมลงภู่ (Perna viridis) ที่เลี้ยงในฟาร์มใกล้เขตอุตสาหกรรมและชุมชนบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดตราด ระหว่างเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2559-มกราคม ปี พ.ศ. 2560 ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำจืดที่เก็บมาจากคลองชากหมากซึ่งเป็นพื้นที่รองรับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยองพบสาร BPA ในปริมาณสูงสุด เท่ากับ 50.7 ng/L และในน้ำทะเลที่เก็บมาจากหาดวอนภาจังหวัดชลบุรีซึ่งใกล้เขตชุมชนเทศบาลเมืองตำบลแสนสุข มีค่าเท่ากับ 37.13±2.70 ng/L ส่วนสาร E2 พบปนเปื้อนสูงสุดเท่ากับ 62.99±5.03 ng/L ที่คลองสังเขป จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นลำน้ำไหลผ่านชุมชนเมือง และพบปริมาณสาร BPA และ E2 ปนเปื้อนสูงสุดในตัวอย่างหอยแมลงภู่ตัวเต็มวัยที่เก็บมาจากฟาร์มในพื้นที่ใกล้เขตอุตสาหกรรมมาบตาพุดจังหวัดระยองโดยมีค่าเท่ากับ (mean±SD) 109.97±14.80 ng/L และ 152.80±18 ng/L ตามลำดับโดยพบการสะสมของสารทั้งสองในหอยแมลงภู่ตัวเต็มวัยมากกว่าวัยอ่อนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อวัดระดับการแสดงออกของยีน cytochrome P450 4 family (cyp4) และยีน vitellogenin (vtg) ในหอยแมลงภู่ด้วยเทคนิค Reverse transcription quantitative real-time PCR (RT-qPCR) เพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพ (biomarker) โดยให้หอยแมลงภู่วัยอ่อนได้รับสัมผัสสาร BPA ด้วยวิธีการแช่ที่ความเข้มข้น 100 ng/L เป็นระยะเวลา 0 (กลุ่มควบคุม), 12, 24, 36 และ 48 ชั่วโมง พบว่าหอยแมลงภู่มีระดับการแสดงออกของยีน cyp4 และยีน vtg สูงสุดเท่ากับ 35.47+-0.77 และ 7.89+-0.71 ตามลำดับที่เวลา 48 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับกลุ่มควบคุม (1.0+-0.3 และ 1.0+-0.1 ตามลำดับ) เมื่อทดสอบให้หอยแมลงภู่ได้รับสัมผัสสาร E2 ความเข้มข้น 10ng/L เป็นเวลานาม 0 (กลุ่มควบคุม), 12, 24, 36 และ 48 ชั่วโมงพบว่าระดับการแสดงออกของยีน cyp4 และยีน vtg สูงสุดที่ได้รับสัมผัสสาร E2 นาน 12 ชั่วโมง เท่ากับ 2.87+-0.11 และ 130.16+-4.80 ตามลำดับแตกต่างจากกลุ่มควบคุม (1.0+-0.21 และ 1.0+-0.19 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อหอยแมลงภู่ได้รับสัมผัสสาร BPA+E2 ที่ระดับความเข้มข้นและระยะเวลาเท่ากับที่ทดสอบการได้รับสารแยกชนิด พบว่าสาร BPA+E2 มีผลยับยั้งระดับการแสดงออกของยีน cyp4 โดยมีค่าลดลงต่ำสุด (0.04+-0.01) ที่ระยะเวลา 12 ชั่วโมงแตกต่างจากกลุ่มควบคุม (1+-0.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และทำให้ระดับการแสดงออกของยีน vtg ลดลงต่ำสุด (0.02+-0.01) ที่ระยะเวลา 12 ชั่วโมงเช่นกัน การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าแหล่งที่มาหลักของการปนเปื้อนสาร BPA และ E2 ในสิ่งแวดล้อมบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทยมาจากโรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งหลักของ E2 มาจากแหล่งชุมชน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject หอยแมลงภู่ -- การตรวจสอบและการเจือปน
dc.subject หอยแมลงภู่
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
dc.subject วิทยานิพนธ์ ?aปริญญาเอก
dc.title การใช้หอยแมลงภู่ (Perna viridis) เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพการปนเปื้อนของสาร Bisphenol A ในบริเวณชายฝั่งทะเล
dc.title.alternative The use of green mussels (pern viridis) s biomrker for bisphenol in costl re
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative BisphenolA (BPA) and 17β-estradiol (E2 ) are endocrine disrupting chemicals (EDCs), which affect animal metabolism and reproductive system. The aim of this work was to quantify BPA and E2 in coastal water and cultured green mussel (Perna viridis) collected from the farms located near industrial and urban areas of the eastern coast of Thailand (Chonburi, Rayong and Trat provinces) during December 2016 to January 2017. The result of BPA analysis of freshwater collected from Charkmak canal, Rayong Province where supply wastewater from Mapthaphut industial estate was highest at 50.7 ng/L and seawater collected from Wonapha beach where located near Saeansook municipal area, Chonburi Province was highest at 37.13 ±2.70 ng/L. The highest level of E2 was found at Sankheap canal sampling site near urban areas (62.99±5.03 ng/L) in Chonburi Province. The highest BPA and E2 was found in mature green musselscollected near Charkmak canal Rayong Province which was 109.97±14.80(mean±SE)and E2 was found at152.8±14.80 (mean±SE) ng/g and significantly different (p<0.05) compared to the testedjuvenile bivalves.Furthermore, cytochrome P450 4 family (cyp4) and vitellogenin (vtg) gene expression levels of those exposed juvenile animals were investigated by Reverse transcription quantitative real-time PCR (RT-qPCR) to use as biomarker of BPA and E2 contamination. The mussels exposed to BPA at concentration of 100 ng/L for 0 (control), 12, 24, 36 and 48 hours were examined. The results showed that the highest level of cyp4 and vtg gene expressions at 48 hours were 35.47±0.77 and 7.89±0.71 significantly different (p<0.05), compared to the control groups (1.0±0.3 and 1.0±0.1, respectively). The mussels exposed to E2 at concentration of 10 ng/L for 0 (control), 12, 24, 36 and 48 hours were also investigated. The highest expression of cyp4 and vtg genes at 12 hours were 2.87±0.11 and 130.16±4.80, respectively and significantly different (p<0.05) from the control groups (1.0±0.21 and 1.0±0.19, respectively). Furthermore, the mussels exposed to the BPA+E2 mixture at the same concentrations and time intervals as those of the separate chemicals exposure were examined. The BPA+E2mixture highly repressed ช the expression levels of the cyp4 (0.04±0.01) and vtg (1±0.21) genes at 12 hours exposure, significantly different (p<0.05) from the exposed control mussels. This study demonstrated that both industrial and domestic wastewater might be important sources of BPA, but domestic waste is a major source for E2 contamination in the eastern coast of Thailand.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account