DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบร่วมมือร่วมพลังในโรงเรียนประถมศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมศักดิ์ ลิลา
dc.contributor.advisor ดุสิต ขาวเหลือง
dc.contributor.author กัสมัสห์ อาแด
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:14:49Z
dc.date.available 2023-05-12T04:14:49Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7563
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและกำหนดองค์ประกอบชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพในโรงเรียนประถมศึกษา 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสู่ชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน 3) พัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบร่วมมือร่วมพลังในโรงเรียนประถมศึกษา 4) ศึกษาผลของรูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบร่วมมือร่วมพลัง ในโรงเรียนประถมศึกษา ระเบียบวิธีที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มตัวอย่างทั่วไป เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ปีการศึกษา 2560 จำนวน 810 คนจาก 162 โรงเรียน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน และ 2) กลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นกรณีศึกษา ประกอบด้วยครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 18 คน จาก 1 โรงเรียน ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ระดับและ 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ระดับศักยภาพของบุคคล ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบคือ 1.1) การสร้างความรู้เชิงรุกและเชิงสะท้อนผล 1.2) ความเป็นปัจจุบันและเท่าทันยุคสมัย (2) ระดับศักยภาพระหว่างบุคคล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ 2.1) การมีวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วมกัน 2.2) การเรียนรู้ร่วมกัน 2.3) การร่วมกันแบ่งปันวิธีการปฏิบัติงาน 2.4) การร่วมกันสะท้อนผล (3) ระดับศักยภาพขององค์กร ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ 3.1) ปัจจัยสนับสนุนทางโครงสร้าง 3.2)ปัจจัยสนับสนุนทางสังคม 3.3) การสนับสนุน ส่งเสริมด้านภาวะผู้นำร่วมองค์ประกอบ มีความตรงเชิงโครงสร้างตามผลการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์พหุมิติ พหุระดับแบ่งเป็น ระดับบุคคล และระดับหน่วยงาน (โรงเรียน) มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าไคสแควร์ เท่ากับ 260.844, df=49,p= .425, = 1.022, RMSEA = 0.073, CFI= 0.950, TLI =0.927,SRMRw= 0.046, SRMRb = 0.068 2. การประเมินความต้องการจำเป็นการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนกรณีศึกษาพบว่าองค์ประกอบหลักที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด ได้แก่ องค์ประกอบระดับศักยภาพของบุคคล รองลงมา คือองค์ประกอบระดับศักยภาพระหว่างบุคคล และองค์ประกอบระดับศักยภาพขององค์กรตามลำดับ 3. รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบร่วมมือ ร่วมพลังในโรงเรียนประถมศึกษาประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน คือ (1) การพัฒนาศักยภาพ ของบุคคล โดยใช้การอบรม สัมมนาเชิงปฏิบัติการภายในโรงเรียน และการเรียนรู้ผ่าน การปฏิบัติงาน (2) การพัฒนาศักยภาพระหว่างบุคคล มีขั้นตอนสำคัญ 6 ขั้นที่มีลักษณะเป็นวงจร ได้แก่ 2.1) การตรวจตราปัญหาอย่างรอบด้าน 2.2) การกำหนดจุดมุ่งเน้นที่ชัดเจน 2.3) การวางแผนการแก้ปัญหาร่วมกัน 2.4) การปฏิบัติตามแผนที่กำหนด 2.5) การสังเกตผล 2.6) การร่วมกันสะท้อนผลและปรับปรุงแก้ไข (3) การพัฒนาศักยภาพขององค์กร โดยการเตรียมความพร้อมด้านปัจจัยสนับสนุนทั้งด้านโครงสร้าง การสนับสนุนทางสังคมและการสนับสนุนด้านภาวะผู้นำ 4. ผลการทดลองสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นในโรงเรียนที่เป็นกรณีศึกษา พบว่า หลังจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกรณีศึกษาเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีระดับการปฏิบัติในทุกองค์ประกอบของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพอยู่ในระดับมากโดยด้านศักยภาพบุคคล มีองค์ประกอบการสร้างองค์ความรู้เชิงรุกและเชิงสะท้อนผลมีระดับ การปฏิบัติสูงสุด ด้านศักยภาพระหว่างบุคคล องค์ประกอบการมีวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วมกัน มีระดับการปฏิบัติสูงสุด และด้านศักยภาพขององค์กร มีองค์ประกอบปัจจัยสนับสนุนทางสังคม มีระดับการปฏิบัติสูงสุด
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject โรงเรียนประถมศึกษา
dc.subject การสอน (ประถมศึกษา)
dc.subject การเรียนรู้
dc.subject การพัฒนาการศึกษา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.title การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบร่วมมือร่วมพลังในโรงเรียนประถมศึกษา
dc.title.alternative The development of professionl lerning model for primry eduction school using collbortive ction reserch pproch
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this study were; 1) to identify factors of professional learning communites, 2) to assess the needs for building professional learning communities in schools, 3) to develop professional learning community model using collaborative action research approach, and 4) to study the results of implementing the professional learning community model. The samples were divided into two groups; 1) 810 primary school teachers under the Basic Education Commission of Pattaniyala and Narathiwat from 162 schools were randomly selected by using two-stage random sampling, and 2) 18 primary school teachers from 1 school selected as a case study. The findings of this study were as follows: 1. Factors of professional learning communities consisted of three levels and nine factors (1) personal capacity level comprising of 1.1) active and reflective construction of knowledge 1.2) currency (2) interpersonal capacity level comprising of 2.1) shared values and vision 2.2)collective learning 2.3) shared practices 2.4) reflective dialogue (3) organization capacity level comprising of 3.1) resources structures and system 3.2) relationships and climate 3.3) stimulating and participative leadership. The construct validity according to multidimensional multilevel factor model analysis was separated into two levels as individual level and unit (among schools) level = 260.844, df =49, p = .425, = 1.022, RMSEA = 0.073, CFI= 0.950, TLI = 0.927, SRMRw(at individual level) = 0.046, SRMRb(at unit level) = 0.068 2. Teachers in the case study needed to buiding personal capacity level more than interpersonal capacity level, and organization capacity level. 3. The professional learning community model using collaborative action research approach consisted of three major steps as follows: (1) enhancing personal capacity through in-school workshops and learning from practice (2) enhancing interpersonal capacity, this major step consisted of six steps: 2.1) Scan 2.2) Focus 2.3) Plan 2.4) Action 2.5) Observe 2.6) Reflect and revise, (3)enhancing organization capacity through the preparation and supporting the structure and relation and supporting participative leadership 4. Teachers who participated in the process of professional learning community had high behavior level within all three levels of professional learning community.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account