dc.contributor.advisor |
สมพงษ์ ปั้นหุ่น |
|
dc.contributor.advisor |
สุเมธ งามกนก |
|
dc.contributor.author |
สายสวาท สุขวิชัย |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T04:14:49Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T04:14:49Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7561 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นและกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบ การนำกลยุทธ์ส่งเสริมค่านิยม 12 ประการสู่การปฏิบัติ ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูทั่วไป และครูผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานด้านค่านิยม 12 ประการ จำนวน 348 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความต้องการจำเป็นในการนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ และแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการนำกลยุทธ์ส่งเสริมค่านิยม 12 ประการสู่การปฏิบัติ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เป็นผู้ประเมินคุณภาพรูปแบบ และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนำกลยุทธ์ส่งเสริมค่านิยม 12 ประการ สู่การปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนวัดบางฝ้าย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามการนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ แบบประเมินความสามารถในการพัฒนาค่านิยม 12 ประการ และแบบประเมินพฤติกรรมด้านค่านิยม 12 ประการ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and development) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ข้อมูลค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และ ค่า PNI แบบปรับปรุง (PNI modified) ผลการวิจัย พบว่า 1. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบกลยุทธ์ส่งเสริมค่านิยม 12 ประการสู่การปฏิบัติ ได้แก่ มีการตรวจสอบความเหมาะสมของแผนให้พร้อม ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการนำไปปฏิบัติ (PNI modified = 0.29) และองค์ประกอบของรูปแบบ ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ บทนำ รูปแบบการนำ กลยุทธ์ส่งเสริมค่านิยม 12 ประการสู่การปฏิบัติ องค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการนำกลยุทธ์ส่งเสริมค่านิยม 12 ประการสู่การปฏิบัติ และการนำรูปแบบไปใช้ 2. รูปแบบการนำกลยุทธ์ส่งเสริมค่านิยม 12 ประการสู่การปฏิบัติ มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก รายการประเมินที่มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด 4 รายการ คือ ขอบเขตของรูปแบบ แนวคิดรูปแบบการนำกลยุทธ์ส่งเสริมค่านิยม 12 ประการสู่การปฏิบัติ องค์ประกอบของรูปแบบ และองค์ความรู้เกี่ยวกับค่านิยม 12 ประการ 3. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า 1) โรงเรียนมีคุณภาพการนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง 2) ครูมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาค่านิยม 12 ประการให้กับนักเรียน หลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลอง และ 3) นักเรียนมีพฤติกรรมด้านค่านิยม 12 ประการ หลังการทดลองสูงกว่าก่อน การทดลอง |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
|
dc.subject |
ค่านิยม |
|
dc.subject |
การบริหารการศึกษา -- ไทย |
|
dc.title |
การพัฒนารูปแบบการนำกลยุทธ์ส่งเสริมค่านิยม 12 ประการสู่การปฏิบัติสำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ |
|
dc.title.alternative |
Development of model pplying strtegies to promote 12 vlues primry school under smut prkn primry eductionl service re office |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The objectives of study were; 1) to study needs and define the elements of the strategic model to promote 12 values practice of primary school under the Samutprakarn Primary Educational Service Area Office. The sample groups were directors of school, general teacher and the teachers who were assigned to promote 12 values, the total of 348 people and 8 the experts. The research instrument were need assessment form to and in-depth interview form for expert. 2) To create and examine the created model to promote the 12 values 5 experts who assessed the quality of the model, 3) To study the results of using the developed model. The sample was students at Watbangfai school under the Office of Samutprakan Primary Education Service Area. The research instruments were, a strategy implementation questionnaire, the ability assessment form, and the 12 values of behavior assessment form. This study research was a research and developmental (R & D). The data were analyzed with mean, standard deviation and PNImodified. The results of the study were as follows; 1. The need for the development of a strategies model to promote 12 values in primary school was at highest level was review of the suitability of the plan be ready before during and after implementation (PNImodified = 0.29) and the elements of the model consisted of four parts elements; the introduction, the model, the body of knowledge of the model and the implementation of the model. 2. The developed model was considered highly appropriate. The four most appropriate elements were: the scope of model, the concept of model, the system of model and the body of knowledge in promoting the 12 values. 3. The results of the model application were that; (1) after using the model, had the schools had a higher quality in promoting before using the model. (2) The teachers had the ability to promote 12 values, after the model implementation higher than before the model implementation. (3) The behavior of students on 12 values after applying the model were higher than before applying the model. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารการศึกษา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|