DSpace Repository

การพัฒนาโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างความหมายในชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล
dc.contributor.advisor ดลดาว ปูรณานนท์
dc.contributor.author อิศรา รุ่งทวีชัย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:14:48Z
dc.date.available 2023-05-12T04:14:48Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7558
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงประสบการณ์ในการเสริมสร้างความหมายในชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ โดยแบ่งการวิจัยเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ คือ แบบวัดความหมายในชีวิต พบว่า เครื่องมือที่ใช้มีค่าความเชื่อมั่น อยู่ในระดับสูง (.93) เมื่อแยกตามองค์ประกอบ การรับรู้ความสามารถส่วนบุคคล การอิ่มในตน และการก้าวข้ามผ่านข้อจำกัด ของตนเอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89, .79 และ .85 ตามลำดับ และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .244-.686 สำหรับในระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างความหมายในชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 16 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน ในระยะที่ 2 นี้ กลุ่มควบคุมได้รับการปรึกษาตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มเชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างความหมายในชีวิตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยดำเนินการทั้งหมด 16 ครั้ง หลังจากนั้นศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับความหมายในชีวิตของกลุ่มทดลองด้วยแบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ SPSS 23 เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความหมายในชีวิตภายในกลุ่ม ด้วยการทดสอบของ Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความหมายในชีวิตของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ระยะก่อนทดลอง หลังทดลอง และติดตามผล โดยใช้การทดสอบของ Mann-Whitney U Test ผลที่ได้ พบว่า กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความหมายในชีวิตสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งระยะหลังทดลองและระยะติดตามผล และคะแนนเฉลี่ยความหมายในชีวิตของกลุ่มทดลองสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งระยะหลังทดลองและระยะติดตามผล ส่วนผลการสัมภาษณ์กลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมการปรึกษากลุ่มเชิงประสบการณ์ พบว่า กลุ่มทดลองมีการตระหนักรู้ในตนเอง พบความหมายในชีวิตของตนเองอย่างชัดเจน มีแนวทาง ในการดำเนินชีวิตเพื่อไปถึงเป้าหมายของตนเองที่ได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังมองว่าประสบการณ์ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ และมีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิต เข้าใจ และยอมรับประสบการณ์ ที่แตกต่าง รวมทั้งนำประสบการณ์เหล่านั้นมาเป็นแนวทางดำเนินชีวิตในปัจจุบันที่อยู่ท่ามกลางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ หาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
dc.subject นักศึกษา -- การให้คำปรึกษา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
dc.title การพัฒนาโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างความหมายในชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์
dc.title.alternative Development of n experientil group counseling progrm for promoting mening in life mong undergrdute student in the fculty of eduction
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research was a mixed methods research. The purpose of the research was to develop the experiential counseling group program among undergraduates at the Faculty of Education. The research was divided into two phrases. In the first phrase aimed to investigate the quality of the Multidimentional Life Meaning Scale (MLMS). The results of item discrimination and reliability of the MLMS showed that the reliability of the MLMS was at high level (.928). The personal efficacy, fulfilment and self-transcendence, three factors meaning in life, were .89, .79 and .85 respectively and having discrimination level between .244-.686. The second phrase of the research was development of an experimental group counseling program to enhance the meaning in life of undergraduate students. The samples were 16 students, they were assigned into 2 groups, the control group and the experimental group. Each group comprised of 8 students. In the second phrase, the control group received the regular counselling program while the experiment group, attended the experiential counselling program with was designed by the researcher in order to achieve meaning in life enhancement. The study was conducted in 16 sessions. After that, the qualitative study was conducted to study the deep meaning in life by using the semi-structucted interview. The results of the second phase was analyzed by the SPSS Statistics version 23, to compare the different meaning in life within a group by using Wilcoxon matched pairs signed test ranks, and comparing the difference of meaning in life scores between control group and experiment group by using Mann-Whitney U Test in three periods: the pre-test period, the post-test period and the follow up period. The results showed that the experiment group had higher mean score than the control group at .05 level of significance both in post and follow up periods. The scores of the experiment group both in post and follow up periods were higher than the pre-test period at .05 level of significance. The qualitative data concerning the quality of meaning in life of the experiment group, revealed that the realized self-awareness, understanding the meaning in life better than before the experimental phase. In addition, they realized that the experience of lives was important and having good value to their lifestyles, understanding and accepting the different experiences and applying them as a guideline for their lifestyles in the changing society.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account