DSpace Repository

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในนวนิยายเหนือธรรมชาติของชลนิล

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทัศนีย์ ทานตวณิช
dc.contributor.advisor บุญเลิศ ยองเพ็ชร
dc.contributor.author ปนิดา ทองบุญชม
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:02:48Z
dc.date.available 2023-05-12T04:02:48Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7546
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในนวนิยายเหนือธรรมชาติของชลนิลเป็นการวิจัยเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานวนิยายเหนือธรรมชาติของชลนิล จำนวน 11 เรื่อง ในด้านหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและกลวิธีการนำเสนอหลักธรรม ผลการศึกษาพบว่าชลนิลได้นำเสนอหลักธรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนาไว้ 4 ประการ คือ 1. ไตรลักษณ์ ประกอบด้วยอนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา 2. กรรม ประกอบด้วยอกุศลกรรม และกุศลกรรม 3. อริยสัจ ประกอบด้วยทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และ 4. ปฏิจจสมุปบาท ประกอบด้วยการแสดงกระบวนการความเป็นไปในชีวิตของมนุษย์ และการแสดงวิวัฒนาการของโลกและชีวิต ในด้านกลวิธีการการนำเสนอหลักธรรม พบว่า ชลนิลใช้กลวิธีการนำเสนอ 5 กลวิธี ได้แก่ 1. การสร้างตัวละคร ประกอบด้วยตัวละครเหนือธรรมชาติ และตัวละครมนุษย์ทั่วไป 2. การสร้างฉาก ประกอบด้วยฉากเหนือธรรมชาติและฉากทั่วไป 3. การใช้กลวิธีการเล่าเรื่องแบบผู้แต่งเล่าในฐานะผู้รู้แจ้ง 4. การใช้ชื่อเรื่องและชื่อตัวละคร และ 5. การใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การนำเสนอหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในนวนิยายเหนือธรรมชาติของชลนิลแสดงให้เห็นว่าผู้เขียนมีความความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักธรรมอย่างลึกซึ้ง อีกทั้งผู้เขียนยังสร้างจินตนาการผสมผสานกับหลักธรรม นำเสนอด้วยวิธีการต่าง ๆ อย่างมีชั้นเชิง ทำให้ผู้อ่านได้รับทั้งความบันเทิง และหลักธรรมที่เป็นสารประโยชน์แก่ชีวิต
dc.language.iso th
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ธรรมะ
dc.subject พุทธศาสนากับวรรณกรรม
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาภาษาไทย
dc.subject นวนิยายไทย
dc.title หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในนวนิยายเหนือธรรมชาติของชลนิล
dc.title.alternative Buddhist principles in chonlnin’s supernturl novels
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This study aims to explore Buddhist principles in eleven supernatural novels composed of Chonlanin in terms of teaching and techniques used for presenting those principles. The findings showed that 4 Buddhist principles are presented in the studied novels. Those 4 principles are 1. The Three Marks of Existence (impermanence, suffering, and soulless), 2. Karma (merit and sin), 3. The Four Noble Truths (Dukkha, Samudaya, Nirodha, and Magga) and 4. Dependent Origination (life fate and world and life evolution). The Buddhist principles are presented through five techniques: 1. character creation (supernatural and realistic characters), 2. setting creation (supernatural and realistic setting), 3. author surrogate, 4. novels’ and characters’ names, and 5. scientific knowledge use. From the examination of techniques used, it shows that the author has acquired deep understanding of Buddhist principles and is skillful in integrating imagination and Buddhist principles. The eleven novels can simultaneously entertain and educate the readers.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ภาษาไทย
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account