dc.contributor.advisor | เภา บุญเยี่ยม | |
dc.contributor.author | ลี้, ชิงหยา | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
dc.contributor.other | Li, Qingya | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T04:02:47Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T04:02:47Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7541 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความเป็นมาของชาวไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋วในจังหวัดชลบุรี ศึกษาวิถีชีวิต (วัฒนธรรม) ศึกษาภูมิปัญญา และความสำเร็จในการประกอบอาชีพของชาวไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋วชลบุรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งจากเอกสารชั้นต้น เอกสารชั้นรองการสังเกตและการสัมภาษณ์แบบประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า (Oral history) มาวิเคราะห์และสังเคราะห์แล้วนำเสนอผลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Historical approach) ผลการวิจัยพบว่า ชาวจีนแต้จิ๋วจากเมืองเฉาโจว มณฑลกวางตุ้ง ได้เข้ามาติดต่อค้าขาย และประกอบอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการค้าสำเภา (งานบริการ งานช่าง การเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร ฯลฯ) ที่จังหวัดชลบุรี มาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่เป็นเช่นนั้น เพราะชลบุรีเป็นเมืองท่าจอดพัก ขนถ่ายสินค้า และซ่อมบำรุงเรือสินค้าที่มาจากต่างประเทศ พื้นที่นี้จึงเป็นที่รู้จักและสนใจของชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวจีนที่เดินทางมาทางเรือ ประกอบกับที่ตั้ง ภูมประเทศ ภูมิอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งบรรยากาศทางสังคมและการเมืองของราชอาณาจักรไทยไม่เป็นอุปสรรคต่อการพำนักอาศัย ประกอบสัมมาชีพ ชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่ซึ่งประสบกับปัญหาการเมืองภายในและภัยธรรมชาติ จึงอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง และได้กลายเป็นคนไทยเชื้อสายจีน (แต้จิ๋ว) คนจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานเหล่านั้น ได้นำมาคิด ความเชื่อ ค่านิยมและวิถีปฏิบัติ รวมทั้งทักษะและภูมิปัญญาด้านต่าง ๆ ติดตัวเข้ามาด้วย เช่น ความขยันหมั่นเพียร ความอดทน ความประหยัด ความกตัญญู ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี และทักษะทางการค้า การเงิน การบัญชี การระดมทุน การเดินเรือ การต่อเรือ งานช่างต่าง ๆ รวมทั้งการทำสวน (สวนผัก สวนผลไม้ ฯลฯ) ทำไร่ (ไร่อ้อย สับปะรด มันสำปะหลัง ฯลฯ) ทำอุตสาหกรรมการเกษตร (น้ำตาลอ้อย สับปะรดกระป๋อง แป้งมันสำปะหลัง ฯลฯ) ทำประมง (ทะเล) งานก่อสร้าง การดูแลรักษาสุขภาพ และภูมิปัญญาด้านอาหาร เป็นต้น ความคิด ความเชื่อ ค่านิยมและขนบธรรมเนียมประเพณี และทักษะ ภูมิปัญญาของบรรพชนชาวไทยเชื้อสายจีน (แต้จิ๋ว) ชลบุรี เป็นวิถีและพลังที่สงผลต่อพัฒนาการของจังหวัดชลบุรี | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ชาวไทย -- จีน | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาไทยศึกษา | |
dc.subject | ชาวไทยเชื้อสายจีน | |
dc.title | ชาวไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋วชลบุรี : วิถีและพลัง | |
dc.title.alternative | Thi people of chozhou (teochew) origin in chonburi: the wy of life nd strength | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research aims to study the history of Thai Chaozhou Chinese people in Chonburi. Study life style( culture) and study skill Knowledge and success of Thai Chaozhou Chinese people in Chonburi. This is qualitative research which collected the data by primary document , secondary document notice including oral history. The researcher synthesized and presented the research results by historical approach. The research found that Chaozhou Chinese people from Chaozhou Guangdong Province come in Chonburi province for trading and make a living about junk trade (service, technician, agriculture, and agricultural industry etc. ). They have been living before the Ayutthaya period because Chonburi is the transportation port, and the maintenance cargo from overseas. This area has been well-known and interested from foreigners especially Chinese people that arriving by boat. In addition, Chonburi is the good area, geography , natural resource, including the good atmosphere of society and politics. Chinese from the mainland, which faces political and natural disasters. As a result, they have a lot of immigrants constantly and they were a Thai-Chaozhou Chinese. Those Chinese have brought their ideas, beliefs, values and practices to Chonburi, including skills and wisdom in various aspects such as diligence, patience, saving, gratitude, tradition, trade skills, finance, fundraising, shipping, shipbuilding, mechanics, gardening (vegetable gardener, fruit gardener ect.) farming (sugarcan, tapioca, pineapple ect.) Agriculture (cane sugar, canned pineapple, tapioca starch), fishing (sea), construction, health care and food hygiene. Ideas, beliefs, values, customs, traditions, wisdom skills of Thai-Chinese ancestors (Chaozhou) are the pathways and strengths that affect the development of Chonburi province. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ไทยศึกษา | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |