dc.contributor.advisor |
จิตตาภา สารพัดนึก ไชยปัญญา |
|
dc.contributor.author |
กอบกุล ใจกว้าง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T04:02:46Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T04:02:46Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7536 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุดมการณ์ชนชั้นกลางในโฆษณาบ้านของนิตยสารบ้านระยอง จำนวน 103 ชิ้นและเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าอุดมการณ์ชนชั้นกลางในโฆษณาบ้านของนิตยสารบ้านระยองมีอุดมการณ์ชนชั้นกลาง แบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ 1. อุดมการณ์ชนชั้นกลางด้านความเป็นปัจเจกบุคคล พบด้านการแบ่งสัดส่วนห้องตามประโยชน์ใช้สอยมากที่สุด จำนวน 95 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 92.23 2. อุดมการณ์ชนชั้นกลางด้านความคุ้มค่า พบราคามากที่สุด จำนวน 65 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 63.10 3. อุดมการณ์ชนชั้นกลางด้านความสะดวกสบายและบรรยากาศ พบด้านการเดินทางมากที่สุด จำนวน 64 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 62.13 4. อุดมการณ์ชนชั้นกลางด้านความปลอดภัย พบด้านความปลอดภัยภายในมากที่สุด จำนวน 39 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 37.86 5. อุดมการณ์ชนชั้นกลางด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ พบด้านวัสดุ-อุปกรณ์มากที่สุด จำนวน 11 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 10.67 นอกจากนี้ พบการใช้กลวิธีทางวัจนภาษาที่สื่ออุดมการณ์ชนชั้นกลาง ได้แก่ 1. การเลือกใช้คำ/ กลุ่มคำที่แสดงความปลอดภัยทั้งความปลอดภัยทั้งภายนอกและภายใน รวมถึงความคุ้มค่าด้านราคา การส่งเสริมการขายและการลงทุน 2. การใช้คำ/ กลุ่มคำและการพรรณนา ที่แสดงความเป็นปัจเจกบุคคล เช่น การแบ่งสัดส่วนห้องตามประโยชน์ใช้สอย การแบ่งพื้นที่สวน/ สนามหญ้า ครัวไทยแยกส่วนและพื้นที่จอดรถ 3. การใช้คำ/ กลุ่มคำและการใช้ภาษาเปรียบเทียบที่แสดงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ด้านประสบการณ์การก่อสร้าง ด้านวัสดุอุปกรณ์ และการการันตี 4. การใช้คำ/ กลุ่มคำ การใช้ภาษา เปรียบเทียบและการพรรณนาที่แสดงความสะดวกสบาย ด้านการเดินทางด้านราคา ด้านพื้นที่ ด้านสถานที่เพื่อการนันทนาการ ด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และบรรยากาศ ส่วนการใช้กลวิธีทางอวัจนภาษาที่สื่ออุดมการณ์ชนชั้นกลางพบการใช้ภาพประกอบที่แสดงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการแบ่งห้องตามสัดส่วนประโยชน์ใช้สอย แสดงความปลอดภัยทั้งภายในและภายนอก แสดงความสะดวกสบาย ด้านการเดินทาง ด้านสถานที่เพื่อการนันทนาการและบรรยากาศ และพบการใช้ขนาดตัวอักษรที่แสดงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการแบ่งสัดส่วนห้องตามประโยชน์ใช้สอยความสะดวกสบายด้านการเดินทางด้านราคา ด้านการเข้าพักอาศัย ด้านบรรยากาศและความคุ้มค่า |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
อุดมการณ์ |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาภาษาไทย |
|
dc.subject |
ชนชั้นกลาง -- ไทย -- ระยอง |
|
dc.title |
อุดมการณ์ชนชั้นกลางในโฆษณาบ้านของนิตยสารบ้านระยอง |
|
dc.title.alternative |
The ideology of middle – clss on “ryong house” mgzine dvertising |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aims to investigate the perspective of middleclass citizens viewing real-estate advertising in Rayong real-estate magazines, where 103 adverts are selected and presented with descriptive analytical findings. The study found that the perspective of the middle-class to a real estate advert in a Rayong magazine can be separated into five categories: 1. Individuality-The highest proportion of adverts are shown to illustrate numerous space usage for particular functions, accounting for 95 adverts with 92.23%. 2. Value-Accounting for 65 adverts with 63.10%. 3. Comfort & AtmosphereAccounting for 64 adverts travel related with 62.13%. 4. Security-Accounting for 39 adverts with 37.86%. 5. Product Quality-Accounting for 11 adverts of equipment with 10.67% In addition, the use of verbal language aimed at a middleclass audience: 1. Expressing safety both inside and outside, including value for money, promotion and investment. 2. The individuality as a division of the room according to the intended function. Garden / lawn area split, separate Thai kitchen and parking area. 3. Using comparative language to show product quality from construction experience materials and guarantee. 4. Using comparative language and the depiction of comfort for travel, price, area, place for recreation, electronics and atmosphere. The use of nonverbal language that resonates with the views of the target audience, in combination with the use of illustrations that show individuality, the division of the property usage, internal and external security display, showing the comfort of travel, the place for activities and good atmosphere, the use of font sizes showing the individual, the advantage of the division of the rooms and convenience of travel expenses for accommodation atmosphere and value. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ภาษาไทย |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|