DSpace Repository

การพัฒนาโปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิดร่วมกับการกำกับอารมณ์สำหรับลดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาตรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุชาดา กรเพชรปาณี
dc.contributor.author นันทน์ปพร ดุรงค์พันธุ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:02:43Z
dc.date.available 2023-05-12T04:02:43Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7516
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การบำบัดโครงสร้างความคิดและการกำกับอารมณ์มีบทบาทสำคัญในการรับมือกับความวิตกกังวลซึ่งเป็นตัวแปรด้านจิตใจที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้เรียน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิดร่วมกับการกำกับอารมณ์ (Schema Therapy with Emotional Regulation: STER) สำหรับลดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ และเปรียบเทียบผลของการลดความวิตกกังวลระหว่างการใช้โปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิดร่วมกับการกำกับอารมณ์กับการใช้โปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิด (Schema Therapy: ST) และกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมใด ๆ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครนักศึกษาปริญญาตรีจำนวน 72 คน ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษในหมวดศึกษาทั่วไปในปีการศึกษา 2559 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) เครื่องมือวัดทางจิตวิทยา ได้แก่ มาตรวัดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษ และ 2) เครื่องมือวัดทางสรีรวิทยา ประกอบด้วย เครื่องวัดความดันโลหิตระบบดิจิตอล และเครื่องวัดความแปรปรวนอัตราการเต้นของหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปร (MANOVA) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) โปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิดร่วมกับการกำกับอารมณ์ (STER) ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกิจกรรมการบำบัดโครงสร้างความคิดจำนวน 9 ครั้ง ใช้เวลาในการฝึกครั้งละ 50 นาทีร่วมกับกิจกรรมการฝึกการกำกับอารมณ์จำนวน 20 ครั้ง ใช้เวลาในการฝึกครั้งละ 20 นาทีโดยผู้ฝึกจะต้องปฏิบัติทั้งสองกิจกรรมควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่องรวม 20 วัน 2) ผลการเปรียบเทียบภายหลังการทดลองด้วยวิธีการทดสอบทางจิตวิทยาและสรีรวิทยาได้ผลสอดคล้องกันแสดงให้เห็นว่า ความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิดร่วมกับการกำกับอารมณ์ (STER) ต่ำกว่ากลุ่มที่ใช้โปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิด (ST) และต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (p < .01) และกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิด (ST) มีความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (p < .01) สรุปได้ว่าการใช้โปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิดร่วมกับการกำกับอารมณ์ (STER) สามารถลดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษได้และได้ผลดีกว่าการใช้เฉพาะโปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิด (ST)
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ความวิตกกังวล
dc.subject ความฉลาดทางอารมณ์
dc.subject ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.title การพัฒนาโปรแกรมการบำบัดโครงสร้างความคิดร่วมกับการกำกับอารมณ์สำหรับลดความวิตกกังวลในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาตรี
dc.title.alternative Development of schem therpy with emotionl regultion progrm for reducing the english lnguge lerning nxiety of undergrdute students
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Schema therapy and emotional regulation play an important role for coping anxiety which is a psychological variable that influences a learner’s success. The objectives of this study were to develop a schema therapy with emotional regulation program (STER) for reducing the English language learning anxiety of undergraduate students, and to compare the effects of the schema therapy combined with emotional regulation program with the schema therapy program (ST) on the English language learning anxiety, in relation to a control group who received no program. Seventy-two undergraduate students from Rajamangala University of Technology, studying English subject for academic year 2016, were randomly assigned to the STER, the ST, and the control groups through simple random sampling. The data collection instruments were 1) a psychological measurement which was an English language learning anxiety scale, and 2) physiological measurements which involved a digital blood pressure monitor and a heart rate variability monitor. Data were analyzed by multivariate analysis of variance (MANOVA). The results were as follows: 1) The Schema therapy combined with emotional regulation program consisted of 9 sessions of schema therapy lasting 50 minute each with 20 sessions of emotional regulation activity lasting 20 minute each by which the participants had to undergo these two activities in parallel for 20 consecutive days. 2) Comparative results after the experiment with the psychological and physiological tests were consistent. The results showed that the mean scores of the English language learning anxiety of the STER group were significantly lower than those of the ST and the control groups (p < .01) and the mean scores of the English language learning anxiety of the ST group were significantly lower than those of the control groups (p < .01). From all conclusions, these findings indicate that the STER program is better than the ST program for reducing English language learning anxiety in undergraduate students.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account