dc.contributor.advisor |
พูลพงศ์ สุขสว่าง |
|
dc.contributor.advisor |
พีร วงศ์อุปราช |
|
dc.contributor.author |
สิริลักษณ์ ประดุจพรม |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T04:02:42Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T04:02:42Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7515 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการกลัวตกเทรนด์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดชายแดนไทยกัมพูชา และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรในโมเดลประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 4 ตัวแปร ได้แก่ แรงจูงใจภายในการขาดแรงจูงใจ แรงจูงใจภายนอก และพฤติกรรมการกลัวตกเทรนด์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดชายแดนไทยกัมพูชา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 450 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 7 ระดับ วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL 9.30 (Student Edition) ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 41.11 ค่า df เท่ากับ 39 ค่า p เท่ากับ .38 ค่า GFI เท่ากับ .99 ค่า AGFI เท่ากับ .97 ค่า CFI เท่ากับ .99 ค่า SRMR เท่ากับ .03 และค่า RMSEA เท่ากับ .01 และค่าสัมประสิทธิ์ พยากรณ์ เท่ากับ .50 แสดงว่า ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมของพฤติกรรมการกลัวตกเทรนด์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดชายแดนไทยกัมพูชาได้ร้อยละ 50 สรุปได้ว่า แรงจูงใจทางวิชาการ ประกอบด้วย แรงจูงใจภายในการขาดแรงจูงใจ และแรงจูงใจภายนอก เป็นปัจจัยหลักของพฤติกรรมการกลัวตกเทรนด์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดชายแดนไทยกัมพูชา ส่วนปัจจัยเสริมผ่านแรงจูงใจทางวิชาการ ได้แก่ ลักษณะของนักเรียน ประกอบด้วย เพศ และเกรดเฉลี่ยสะสม |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
พฤติกรรม |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.subject |
นักเรียนมัธยมศึกษา -- พฤติกรรม |
|
dc.title |
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการกลัวตกเทรนด์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดชายแดนไทยกัมพูชา |
|
dc.title.alternative |
A cusl reltionship model of fer of missing out behvior mong upper secondry school students in Thilnd nd Cmbodi border provinces |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research was to develop and validate a causal relationship model of fear of missing out behavior among upper secondary school students in Thailand and Cambodia Border Provinces. The model consisted of four latent variable: intrinsic motivation, amotivation, extrinsic motivation, and fear of missing out behavior. The sample, selected by multistage random sampling, composed of 450 upper secondary school students in the second semester of 2016 academic year. Data were collected by using a seven point-rating scale. Descriptive statistics were analyzed using SPSS, and causal modeling was analyzed using LISREL 9.30 (Student Edition). Results indicated that the developed model was consistent with the empirical data as demonstrated by the following fit indicies: Chi-square test = 41.11, df = 39, p = .37, AGFI = .96, CFI = .99, SRMR = .02 and RMSEA = .01. The variables in the model accounted for 50 percent of the total variance of fear of missing out behavior. Academic motivation, including intrinsic motivation, amotivation, and extrinsic motivation, was the main cause of fear of missing out behavior. In addition, student characteristics including gender and GPAX were found as supporting causes. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|