dc.contributor.advisor |
พงศ์เทพ จิระโร |
|
dc.contributor.advisor |
เสกสรรค์ ทองคำบรรจง |
|
dc.contributor.author |
โชติ จันทร์วัง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T04:02:37Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T04:02:37Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7506 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างยั่งยืน โดยบูรณาการกับงานปกติ สำหรับสถาบันการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย โดยมีจุดประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพ การประกันคุณภาพภายในและวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานประกันคุณภาพภายใน 2) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างยั่งยืนโดยบูรณาการกับงานปกติ 3) ทดลองใช้และประเมินประสิทธิผลของระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างยั่งยืนโดยบูรณาการกับ งานปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในสถาบันการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย แบ่งเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 402 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานประกันคุณภาพภายในและแนวทางในการประกันคุณภาพภายในอย่างยั่งยืนโดยบูรณาการกับงานปกติ มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียวและวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานประกันคุณภาพภายในมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านระบบประกันคุณภาพภายใน รองลงมาคือปัจจัยด้านบริบทองค์กร การปฏิบัติงาน ประกันคุณภาพภายในได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านบริบทองค์กร และปัจจัยด้านระบบประกันคุณภาพภายใน มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.45 และ 0.20 ตามลำดับ ปัจจัยด้านระบบประกันคุณภาพภายในได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยด้านบริบทองค์กรและปัจจัยด้านบุคลากร มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.30 และ 0.43 ตามลำดับ ปัจจัยด้านระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศได้รับอิทธิพลทางตรงจากปัจจัยด้านบริบทองค์กรและปัจจัยด้านผู้บริหาร มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.52 และ 0.36 ตามลำดับ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายใน สำหรับสถาบันการศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน 25 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานและตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินคุณภาพภายใน สำหรับสถาบันการศึกษาระดับการศึกษาอาชีวศึกษาประกอบด้วย 4 มาตรฐาน 15 ตัวบ่งชี้ แนวทางในการประกันคุณภาพภายในอย่างยั่งยืนโดยบูรณาการกับงานปกติ พบว่า การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในการประกันคุณภาพให้กับบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา เป็นด้านผู้นำตระหนักถึงคุณค่าในงานประกันคุณภาพการศึกษาและมีความสามารถในการบริหารองค์กร ผลการประเมินประสิทธิผลของระบบในแต่ละด้าน ด้านละ 66 ข้อ พบว่า ด้านประโยชน์ มีผลประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 64 ข้อ ด้านความเป็นไปได้มีผลประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 22 ข้อ ด้านความเหมาะสม พบว่า ผลประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 34 ข้อ และด้านความถูกต้อง มีผลประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 54 ข้อ นอกจากนั้น ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
การศึกษา -- มาตรฐาน |
|
dc.subject |
ทหาร -- การศึกษาและการสอน |
|
dc.subject |
ประกันคุณภาพการศึกษา |
|
dc.subject |
การศึกษาวิชาการทหาร |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา |
|
dc.title |
การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในอย่างยั่งยืนโดยบูรณาการกับงานปกติสำหรับสถาบันการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศกองบัญชาการกองทัพไทย |
|
dc.title.alternative |
Development of sustinble internl qulity ssurnce system integrted with regulr work for undergrdute Institution of Ntionl Defence Studies Institute, Royl Thi Armed Forces Hedqurters |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research was to develop a sustainable internal quality assurance system that integrated with the regular work for the lower undergraduate the Institute of Defence, Royal Thai Armed Forces Headquarters. The sample was the personnel in the lower undergraduate institutions of the Institute of Defence, Royal Thai Armed Forces Headquarters, with the total of 402 for questionnaires and 30 for interview and focus group. Instruments used in this study were questionnaires on factors affecting the performance of internal quality assurance, the internal quality assurance guidelines. Data were mean, standard deviation, One-way ANOVA and structural equation model by using LISREL program. The research that results were : the factor that influenced the internal assurance quality most was followed by the organizational context . The quality assurance system performance of internal quality assurance factor was effected by organizational context and the internal quality assurance system factors with the total effect of 0.45 and 0.20, respectively. The internal quality assurance system factor was directly effected by organizational context and staff factors which the size of effects of 0.30 and 0.43, respectively. The development of standards and indicators of internal quality assurance consisted of 4 standards, 25 indicators, for vocational education institutions consist of 4 standards, 15 indicators. The database and information system factor was directly effected by organizational context and administrator factors with the size of effects of 0.52 and 0.36, respectively. The guidelines for sustainable internal quality assurance system that integrated with the regular work was that the development of knowledge and understanding of quality assurance for personnel has the highest average followed by the leadership of administrators. Evaluation system results of the Utility, Feasibility, Appropriate and Accuracy standards were at high and the highest level. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|