Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ ที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับสมรรถนะคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 3) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะคณิตศาสตร์ข้างต้น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1,021 คน และครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 132 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบ 1 ฉบับ และแบบสอบถาม 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ คือ สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ สมรรถนะในการสื่อสาร สมรรถนะในการคิด สมรรถนะในการแก้ปัญหา สมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต และสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยี โมเดลที่พัฒนาขึ้น ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าสถิติบ่งชี้ คือ 2 = 2.891, df = 3, p = 0.409, 2/ df = 0.964, RMSEA = 0.000, CFI = 1.000, TLI = 1.000, SRMR = 0.007 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ พบว่า โมเดลการวัดพหุระดับสมรรถนะคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 มีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ 2 = 16.153, df = 10, p = 0.095, 2/ df = 1.615, RMSEA = 0.025, CFI = 0.988, TLI = 0.977, SRMRw = 0.015, SRMRb = 0.042 3. ผลการพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 มีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ 2 = 208.549, df = 130, p = 0.000, 2/ df = 1.604, RMSEA = 0.024, CFI = 0.988, TLI = 0.983, SRMRw = 0.020 และ SRMRb = 0.129 แบ่งตามระดับการทำนาย ดังนี้ 3.1 ระดับนักเรียน พบว่า สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ได้รับอิทธิพลเชิงบวก จากตัวแปรเกรดเฉลี่ยคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ ตัวแปรรายได้ผู้ปกครอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.2 ระดับโรงเรียน พบว่า สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับนโยบาย ประเทศไทย 4.0 ได้รับอิทธิพลเชิงบวก จากตัวแปรบรรยากาศห้องเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01