DSpace Repository

การพัฒนาระบบการเรียนแบบภควันตภาพในกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านดนตรีไทยสำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทิพย์เกสร บุญอำไพ
dc.contributor.advisor พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ
dc.contributor.author อภินันท์ จุลดิษฐ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:59:05Z
dc.date.available 2023-05-12T03:59:05Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7493
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการเรียนแบบภควัตภาพในกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านดนตรีไทย 2) ทดสอบประสิทธิภาพชุดการเรียนตามระบบการเรียนแบบ ภควัตภาพ ฯ 3) เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนผ่านระบบการเรียนแบบภควัตภาพ ฯ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อระบบการเรียนแบบภควัตภาพ ฯ และ 5) ประเมินรับรองระบบการเรียนแบบภควัตภาพ ฯ จากผู้ทรงคุณวุฒิ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยีการศึกษาและด้านดนตรีไทย จำนวน 10 คน 2) นิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ด้านเสริมสร้างสมรรถนะ (กิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม) กับชมรมดนตรีไทยจำนวน 40 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบการเรียนแบบภควันตภาพ ในกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านดนตรีไทยสำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบประเมินทักษะปฏิบัติการตีฆ้องวงใหญ่ขั้นพื้นฐาน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อระบบการเรียนแบบภควัตภาพ ฯ และ 5) แบบประเมินรับรองระบบการเรียนแบบภควัตภาพ ฯ จากผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, E1/ E2 และ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1. ระบบการเรียนแบบภควัตภาพ ฯ ประกอบด้วย 1) บริบท 2) ปัจจัยนำเข้า 3) กระบวนการ ได้แก่ 3.1) การเตรียมความพร้อม 3.2) สอนสาธิตและฝึกปฏิบัติ 3.3) นำเสนอผลงานนิสิต 3.4) ผลผลิต 3.5) ประเมินผล 4) ผลลัพธ์ และ 5) ข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุงระบบ 2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพมีประสิทธิภาพของกระบวนการ/ ผลลัพธ์ บทเรียน ที่พัฒนาตามระบบการเรียนแบบภควันตภาพในกิจกรรมเสริมหลักสูตร ฯ (E1/ E2) เท่ากับ 82.24/ 82.50 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/ 80 3. ความก้าวหน้าในการเรียนจากผลการเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนกับก่อนเรียน ผ่านระบบการเรียนแบบภควันตภาพในกิจกรรมเสริมหลักสูตร ฯ เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อระบบการเรียนแบบภควันตภาพในกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านดนตรีไทย ฯ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด 5. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรับรองระบบการเรียนแบบภควันตภาพในกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านดนตรีไทย ฯ อยู่ในระดับมากที่สุด
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject กิจกรรมเสริมหลักสูตร
dc.subject ดนตรีไทย -- หลักสูตร
dc.subject การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- หลักสูตร
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
dc.subject ดนตรีไทย -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
dc.title การพัฒนาระบบการเรียนแบบภควันตภาพในกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านดนตรีไทยสำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
dc.title.alternative Development of ubiquitous lerning system in thi clssicl music extrcurriculr for undergrdute students of Ksetsrt University
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were: 1) to develop the ubiquitous learning system in Thai classical music extracurricular for undergraduate students of Kasetsart University, 2) to validate the efficiency of the system, 3) to compare the pre-test and post-test scores on learning with the system, 4) to study student’s satisfaction towards the system, and 5) to assess and certify the system from experts. This research used a Research and Development approach. The samples were; 1) 10 experts in educational technology and Thai classical music, 2) 40 undergraduate students at Kasetsart University selected by cluster random sampling technique. The research instruments were; 1) the system prototype, 2) pre-test and post-test, 3) basic Gong skill evaluation form, 4) student’s satisfaction questionnaire, and 5) the ubiquitous learning system in Thai classical music extracurricular evaluation form for experts. The data were analyzed by using percentage, means, standard deviation, E1/ E2 and t-test. The findings were; 1. The ubiquitous learning system in Thai classical music extracurricular for undergraduate students of Kasetsart University comprised of; 1) Context; 2) Input; 3) Process; 3.1) Readiness Establishment and Support Channel; 3.2) Demonstration and Practice; 3.3) Presentation; 3.4) Production; 3.5) Assessment; 4) Result and 5) Feedback for System Revision 2. The efficiency of the ubiquitous extracurricular learning system (E1/E2) was = 82.24/ 82.50 which met the 80/ 80 eriterion. 3. The post-test score was higher than the pre-test at .01 significant level. 4. The student’s satisfaction toward the ubiquitous extracurricular learning system was at the highest level. 5. The ubiquitous learning system in Thai classical music extracurricular evaluated by the experts was at highly appropriate.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline เทคโนโลยีการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account