Abstract:
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบของการทุจริต ทางการศึกษาของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในภาคตะวันออก ในระดับนักเรียนและระดับโรงเรียน 3) เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับ การทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน จำนวน 1,399 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออก จำนวน 58 แห่ง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 ฉบับ สถิติที่ใช้คือ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยันพหุระดับ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดการทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก มีความสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ค่า 2 = .005, df = 1, p = .945, 2/df = .005, RMSEA = .000, CFI = 1.000, TLI = 1.000, SRMRW = .000 และ SRMRB = .002 2. ผลการพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ ค่า 2 = 122.144, df = 88, p = .009, 2/df = 1.388, RMSEA = .021, CFI = .991, TLI = 988, SRMRW = .033, SRMRB = .057 แบ่งตามระดับการทำนายดังนี้ 2.1 ระดับนักเรียน พบว่า การทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก ได้รับอิทธิพลเชิงลบจากการเลี้ยงดูของครอบครัว ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพศ และได้รับอิทธิพลเชิงบวกจาก แรงจูงใจในการกระทำการทุจริตทางการศึกษา และอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ระดับโรงเรียน พบว่า การทุจริตทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก ได้รับอิทธิพลเชิงลบจาก การบริหารวิชาเรียน และได้รับอิทธิพลเชิงบวกจากการลดโอกาสในการทุจริต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05