dc.contributor.advisor |
สุรินทร์ สุทธิธาทิพย์ |
|
dc.contributor.author |
ผ่องพรรณ ภะโว |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:59:03Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:59:03Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7485 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) ทดลอง 4 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของของโปรแกรมการบูรณาการการปรึกษาพหุทฤษฎีทฤษฎีปัญญานิยมและทฤษฎีประสบการณ์-มนุษยนิยม ต่อการลดภาวะซึมเศร้าของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าก่อนการทดลอง หลังการทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์ ซึ่งมีคะแนนภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับปานกลาง (21-30 คะแนน) ได้จำนวน 48 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่ม โดยแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดภาวะซึมเศร้า ของ Beck (Beck depression inventory) (Beck, 1967) มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการปรึกษาพหุทฤษฎีโดยใช้ทฤษฎีปัญญานิยมร่วมกับทฤษฎีประสบการณ์นิยม-มนุษยนิยม (MTP), โปรแกรมการปรึกษาโดยใช้ทฤษฎีปัญญานิยม (CT) และโปรแกรม การปรึกษาโดยใช้ทฤษฎีประสบการณ์นิยม-มนุษยนิยม (EXP) เครื่องมือที่ใช้ในกลุ่มควบคุม คือ โปรแกรม การปรึกษาโดยใช้ทฤษฎีการปรับความคิดและพฤติกรรม (CBT) โดยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมได้รับ โปรแกรมการปรึกษา 2 สัปดาห์ต่อครั้ง จำนวน 9 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที ติดตามผลหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิเคราะห์โดยใช้ สถิติพื้นฐานหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) จากนั้นใช้สถิติวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม (Repeated-measure analysis of varience: One between-subjects variable and within-subject variable) (Howell, 2007, p. 461) และเมื่อพบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยทำการทดสอบด้วยวิธีการทดสอบรายคู่แบบวิธีการของบอนเฟอโรนี่ (Bonferroni method) ผลการวิจัย พบว่า ผลการปรึกษารายบุคคลโดยใช้ปรึกษาแบบพหุทฤษฎีส่งผลให้ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยต่ำกว่าวิธีแบบปัญญานิยม กับประสบการณ์นิยม-มนุษยนิยม แต่ไม่แตกต่างจากวิธีของการปรับความคิด และพฤติกรรมที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การปรึกษารายบุคคลโดยใช้ปรึกษาแบบพหุทฤษฎี แบบปัญญานิยม กับประสบการณ์นิยม-มนุษยนิยม หลังการปรึกษา และระยะติดตามผล พบว่า มีภาวะซึมเศร้าต่ำกว่าระยะก่อนการทดลองเมื่อเวลาเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่า ผลการปรึกษารายบุคคล โดยใช้การปรึกษาแบบพหุทฤษฎีส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วย ในระยะติดตามผลดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการปรึกษา และระยะเวลา อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ความซึมเศร้า |
|
dc.subject |
การให้คำปรึกษา |
|
dc.subject |
ผู้ป่วย -- การให้คำปรึกษา |
|
dc.subject |
การปรับพฤติกรรม |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา |
|
dc.title |
บูรณาการการปรึกษาพหุทฤษฎีโดยใช้ทฤษฎีปัญญานิยมร่วมกับทฤษฎีประสบการณ์นิยม-มนุษยนิยมต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า |
|
dc.title.alternative |
Integrtive multitheoreticl counseling: cognitive therpy nd experientil-humnistic therpy on depression of ptient with depressive disorder |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This study was an experimental research designs aiming to syudy and compare the effect of Integrative Multitheoretical Counseling Program consisted of Cognitive Therapy and Experiential-Humanistic Therapy on Depression among patient with Depressive Disorder. The experiment was conducted in three phases, namely the pre-trial, post-trial, and the follow up. The participants were 48 patients with Depressive disorder in Out Patient Department at Sakaeo Rajanakharindra Psychiatric Hospital which depressive score at the moderate level (21-30). The experiment consisted of 4 groups 3 groups for the experimental and 1 group for controlled, each group has 12 persons. The instrument were Beck Depression Inventory Scale (Beck, 1967) which reliability was 0.86. The Multitheoretical counseling: Cognitive therapy and Experiential Humanistic theory, and Cognitive Behavior Therapy. The groups received program 2 weeks each, for a sessions of 60 minute, follow up after 2 weeks. Data analysis between groups with mean, SD, then used Repeated-Measure Analysis of Varience: One Between-Subjects Variable and Within-Subject Variable with analytical statistics in one type of variable between groups and one variable within a group. When the difference between the average was tested by Bonferroni Method. The research results; The Multitheoretical counseling reduced depression in patient with Depressive Disorder better than the Cognitive therapy and Experiential Humanistic therapy, however the differences was not statistical significance. In Post counseling and follow up both Multitheoretical counseling: Cognitive therapy and Experiential Humanistic therapy reduced depression in patient with Depressive Disorder better than pre trial when the times go by with statistical significance at .05. The Multi theoretical counseling reduced depression in patient with Depressive Disorder better than the controlled group in follow period with statistical significance at .05. The interaction between methods of consultation, time was statistical significance at .05. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
จิตวิทยาการปรึกษา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|