Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา 2) พัฒนาศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ 3) รับรองศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาวิธีดําเนินการ วิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์ และสังเคราะห์หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง/ ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการและแนวโน้มของการพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ระยะที่ 2 พัฒนาศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาและระยะที่ 3 รับรองศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ผลการวิจัย พบว่า 1. ความต้องการในการพัฒนาศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) การบริการ 2) การฝึกอบรม 3) การผลิต 4) การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และ 5) การวิจัยและพัฒนา 2. การพัฒนา (ร่าง) ต้นแบบศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยยึดหลักการกำหนดองค์ประกอบของ ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา ดังนี้ 1) ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ 2) เป้าหมายและจุดมุ่งหมาย 3) โครงสร้างพื้นฐาน 4) ระบบการผลิตและบริการ 5) อุปกรณ์การผลิตและบริการ 6) บุคลากร 7) ระบบการจัดการ และ 8) การติดตามและการประเมินผล(ร่าง) ต้นแบบศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา มีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งตอบสนองความต้องการผู้ใช้บริการให้สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้สารสนเทศ และการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกเครื่องมือ เน้นการให้บริการออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อส่งเสริมกระบวนการผลิตบัณฑิตครูของคณะศึกษาศาสตร์ให้มีคุณภาพ มีความรู้และทักษะในการดํารงชีวิต และสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมการศึกษาของคณาจารย์ พัฒนาแหล่งรวมทรัพยากรการศึกษาด้านศึกษาศาสตร์ ในลักษณะของแหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ นอกจากนั้น ยังมีการจัดสิ่งอํานวยความสะดวกและพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และส่งเสริมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นในวิชาชีพเดียวกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมการศึกษาการตรวจสอบความเหมาะสมของ (ร่าง) ต้นแบบศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาใช้เทคนิคเดลฟาย จํานวน 2 รอบ พบว่า การตรวจสอบทั้ง 2 รอบ ให้ผลเช่นเดียว คือ ค่ามัธยมฐาน มากกว่า 3.50 ขึ้นไป มีค่าสมบูรณ์ของผลต่างระหว่างค่ามัธยฐานกับฐานนิยมไม่เกิน 1.0 และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ไม่เกิน 1.50 เช่นกัน แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าองค์ประกอบของ (ร่าง) ต้นแบบศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีความเหมาะสมมาก มีแนวโน้มเป็นไปได้ 3. การรับรองศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 คน พบว่า ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก