Abstract:
พื้นที่บริเวณตําบลตํามะลัง อําเภอเมือง จังหวัดสตูล เผชิญหน้ากับปัญหานํ้าท่วมชายฝั่งอย่างรุนแรง ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืชได้ ดังนั้นจึงมีแนวความคิดใน การลดผลกระทบจากปัญหาด้วยการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำทะเลโดยใช้ดินในพื้นที่เป็นวัสดุก่อสร้าง เพื่อลดราคาค่าก่อสร้าง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของดินและปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 เพื่อนําดินที่ได้มาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างคันดินก้นน้ำทะเล โดยตัวอย่างดินจะถูกผสมกับปูนซีเมนต์ในสัดส่วน 0 2 5 8 และ 10% ของนํ้าหนักดินแห้ง ปริมาณน้ำที่ใช้ในการผสมตัวอย่าง ได้จากปริมาณค่าความชื้นที่เหมาะสมของการทดสอบการบดอัดแบบมาตรฐานของแต่ละอัตราส่วนผสมดินซีเมนต์ วิธีการทดสอบการอัดตัวคายนํ้า และการทดสอบการอัดตัวแบบอิสระถูกนํามาใช้เพื่อประเมินคุณสมบัติด้านวิศวกรรมของดินซีเมนต์ที่ระยะเวลาการบ่ม 0 7 และ 28 วัน จากตัวอย่างดินเหนียวที่นํามาจากพื้นที่ศึกษา พบว่า เป็นดินเหนียวอินทรีย์ชนิด Clay of low plasticity (CL) และ Clay of high plasticity (CH) ตาม Unified soil classification system จากผลการทดสอบ พบว่า อัตราส่วนของดินและปูนซีเมนต์ที่เหมาะสม สําหรับการก่อสร้างคันดินกันน้ำทะเล คือ ดินเหนียว CL ผสมปูนซีเมนต์ที่อัตราส่วน 2% ที่อายุการบ่ม 0 วัน และดินเหนียว CH ผสมปูนซีเมนต์ที่อัตราส่วน 5% ที่อายุการบ่ม 7 วัน เนื่องจากปริมาณดังกล่าวเป็นอัตราส่วนผสมที่น้อยที่สุดที่ทําให้ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านได้มีค่าน้อยกว่า 10-8 เมตร/วินาที และยังมีกำลังรับแรงเฉือนที่เพียงพอในการนําไปใช้ก่อสร้างคันดินกันน้ำทะเล นอกจากนี้ อัตราส่วนดินซีเมนต์ที่เหมาะสมถูกนํามาวิเคราะห์เพื่อหาเสถียรภาพของลาดดิน ปริมาณการไหลซึมของนํ้าทะเลผ่านคันดิน และค่าความเค็มของนํ้าที่ไหลซึมผ่านคันดิน โดยใช้โปรแกรม GeoStudio 2007 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ดินเหนียวในพื้นที่ซึ่งผสมปูนซีเมนต์สามารถนํามาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างคันดินได้ และที่อัตราส่วนผสมนี้ ค่าความเค็มของนํ้าทะเลที่ไหลซึมผ่านคันดินและฐานราก มีค่าน้อยกว่า 10 กก./ลบ.ม. (10 ppt) ดังนั้น เพื่อเป็นการลดค่าวัสดุก่อสร้าง การใช้ดินในพื้นที่ผสมกับปูนซีเมนต์สามารถนํามาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างของคันดินได้ และคันดินสามารถป้องกันพื้นที่จากความเค็มของนํ้าทะเลได้ ซึ่งส่งผลให้พื้นที่ด้านหลังคันดินสามารถนํามาใช้ทําการเกษตรได้