Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบถังปฏิกรณ์ชีวภาพและประเมินการใช้งานในการผลิตแก๊สชีวภาพจากตะกอนเลนบ่อกุ้งและศึกษาผลของอุณหภูมิที่มีผลต่อปริมาณการผลิตแก๊สชีวภาพจากตะกอนเลนบ่อกุ้งโดยการหมักแบบไร้ออกซิเจน การศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการหมักแบบกะในถังปฏิกรณ์ชีวภาพขนาด 35 และ 40 ลิตรโดยกำหนดให้มีอุณหภูมิ 3 สภาวะ คือ 27 30 และ 34 องศาเซลเซียส หมักจนเข้าสู่สภาวะคงที่เก็บผลอย่างต่อเนื่อง (Real time) และทำการบันทึกค่าอุณหภูมิค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) และปริมาณแก๊สชีวภาพ พบมีแก๊สชีวภาพสะสมเท่ากับ 1.9 7.2 และ 6.8 ลิตร มีปริมาณมีเทนร้อยละ 42.85 35.77และ 40.17 ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 7.3 6 และ 7.8 ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่า ทั้ง 3 สภาวะที่อุณหภูมิ 34 องศาเซลเซียส มีความเหมาะสมในการผลิตแก๊สชีวภาพและให้แก๊สชีวภาพในปริมาณที่สูง เนื่องจากมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ในช่วงที่เหมาะต่อการเจริญของเมทาโนเจนและยังสามารถลดปริมาณของสารอินทรีย์และปริมาณของแข็งจากตะกอนเลนบ่อกุ้งได้การประเมินการผลิตแก๊สชีวภาพพบว่า สามารถทดแทนพลังงานไฟฟ้าได้ 201.6 หน่วย โดยคิดเป็นการจ่ายไฟให้กับเครื่องยนต์ขนาด 2 แรงม้า 1.5 กิโลวัตต์-์ชั่วโมงได้ 322.58 ชั่วโมง 13.44 วัน ใช้กับเครื่องยนต์เติมอากาศ 6 เครื่อง จะ ลดค่าใช้จ่ายได้เป็นเงิน 633.47 บาทต่อเดือน 7,601.66 บาทต่อปีข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้พิจารณาถึงอุปกรณ์/ระบบในการผลิตแก๊สชีวภาพและรูปแบบการผลิตเพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์และประโยชน์การใช้งานในฟาร์มเลี้ยงกุ้งต่อไป