Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางพัฒนาการจัดการแหล่งเรียนรู้ นอกห้องเรียนของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายวังบูรพา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายวังบูรพา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำนวน 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางพัฒนาการจัดการแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน มีค่าอำนาจการจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .23-.78 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการจัดการแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายวังบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้น ด้านการดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน อยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการจัดการแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายวังบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำแนกตามเพศและประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมและ รายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางพัฒนาการจัดการแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายวังบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ด้านการวางแผนการใช้แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ควรจะต้องได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับการสร้างและปรับปรุงแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ด้านการดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้ ควรส่งเสริมให้ครูมีความรู้ในการใช้แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ด้านการประเมินการใช้แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ควรให้ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินเพื่อที่ จะได้แนวทางในการปรับปรุงแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนที่หลากหลาย และด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ นอกห้องเรียนควรดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนให้สมบูรณ์พร้อมใช้งานอยู่เสมอ