Abstract:
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ศึกษาความสัมพันธ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน และสร้างสมการพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดชลบุรี จำนวน 254 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 4 ตอน ได้แก่ แบบสอบถาม เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานของครู การบริหารจัดการทรัพยากร และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .20-.90 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .92, .90, .92 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบ Pearson (Pearson’s product moment correlation) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยสภาพแวดล้อม ในการปฏิบัติงานของครู และปัจจัยการบริหารจัดการทรัพยากร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับ มาก 2. ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานของครูและปัจจัย การบริหารจัดการทรัพยากร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ปัจจัยการบริหาร จัดการทรัพยากรส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. สมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดชลบุรี มีความสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 84.20 โดยเขียนในรูปสมการคะแนนดิบได้ ดังนี้ = .235 + .586 (X11) + .679 (X1) + .473 (X2) + .276 (X33) + .108 (X32) หรือในรูปสมการคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ = .842 (Z11) + .824 (Z1) + .503 (Z2) + .320 (Z33) + .124 (Z32)