DSpace Repository

การสังเคราะห์งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อกำหนดมโนทัศน์และกลยุทธ์ส่งเสริมการทำวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมศักดิ์ ลิลา
dc.contributor.advisor พงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.author ชณิชา เพชรปฐมชล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:55:15Z
dc.date.available 2023-05-12T03:55:15Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7390
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract -การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์งานวิจัย 2) วิเคราะห์มโนทัศน์การวิจัย และ 3) พัฒนากลยุทธ์ส่งเสริมการทำวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ระหว่างปีการศึกษา 2549-2558 ในหลักสูตรที่เน้นการทำวิจัย (แผน ก) และมีการเผยแพร่ผลงานผ่านทางระบบฐานข้อมูลงานวิจัยโครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (Thai Library Integrated System: ThaiLIS) รวม 396 เรื่อง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย แบบประเมินความเหมาะสมของมโนทัศน์การวิจัย และแนวคำถามการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และพัฒนากลยุทธ์ส่งเสริมการทำวิจัยด้วยการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยสรุปได้ว่า งานวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอก มีผลการสำรวจคุณภาพงานวิจัยสอดคล้องกัน คือ มีค่าเฉลี่ยคุณภาพงานวิจัยโดยรวมระดับดี เมื่อพิจารณาตามกลุ่มระดับคุณภาพงานวิจัยพบว่า งานวิจัยส่วนมากมีคุณภาพระดับดีมาก รองลงมา คือ ปานกลาง ค่อนข้างต่ำ และดี ส่วนงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับต่ำนั้นมีจำนวนน้อยที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยคุณภาพงานวิจัยระดับดีมากมี 2 ด้านได้แก่ ด้านผลการวิเคราะห์ข้อมูลและด้านการนำเสนอรายงานวิจัย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยคุณภาพงานวิจัยระดับดีมี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิธีดำเนินการวิจัย ด้านการสรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ด้านบทนำ และด้านเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยไม่มีด้านใดมีค่าเฉลี่ยคุณภาพงานวิจัยต่ำกว่าระดับดี ผลการสังเคราะห์งานวิจัยพบว่า ตัวแปรข้อมูลคุณลักษณะงานวิจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างของคุณภาพงานวิจัยทั้งในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 9 ตัวแปรได้แก่ สาขาวิชา ปีที่จบการศึกษา แบบแผนการวิจัย กลุ่มทฤษฎีหลัก ประเภทสมมติฐานการวิจัย วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง สถานภาพกลุ่มตัวอย่าง การใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล และการตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้นทางสถิติ ตัวแปรข้อมูลคุณลักษณะงานวิจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพงานวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 5 ตัวแปร ได้แก่ จำนวนตัวแปรตาม จำนวนตัวแปรต้น จำนวนตัวแปรแฝง จำนวนสมมติฐานการวิจัย และจำนวนวิธีวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนตัวแปรข้อมูลคุณลักษณะงานวิจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพงานวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั้นพบเฉพาะในระดับปริญญาโท มี 3 ตัวแปร ได้แก่ จำนวนปีที่ใช้ในการศึกษาตามหลักสูตร จำนวนตัวแปรที่ศึกษา และจำนวนเครื่องมือวิจัย ผลการวิเคราะห์มโนทัศน์การวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญ มีความเห็นสอดคล้องกันทุกข้อเกี่ยวกับความถูกต้องและความเหมาะสมของมโนทัศน์การวิจัย ของนิสิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอก และพบว่าความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความสอดคล้องกับเกณฑ์การแปลผลการประเมินคุณภาพงานวิจัยที่กำหนดไว้ ผลจากการวิเคราะห์มโนทัศน์การวิจัยพบประเด็นที่ควรได้รับการพัฒนาโดยเร่งด่วน ได้แก่ ประเด็นเกี่ยวกับการให้ความสำคัญต่อการเขียนข้อจำกัดและข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัย และประเด็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อตกลงเบื้องต้นทางสถิติ เมื่อใช้สถิติพาราเมตริกในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการพัฒนากลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการทำวิจัย ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับกลยุทธ์ระดับแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการทำวิจัย รวม 15 กลยุทธ์ แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) กลยุทธ์ระดับอาจารย์ผู้สอนและห้องเรียน 2) กลยุทธ์ระดับการบริหารจัดการหลักสูตร และ 3) กลยุทธ์ระดับการบริหารจัดการองค์กร
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- คณะศึกษาศาสตร์ -- นักศึกษาบัณฑิต -- ผลงานวิจัย
dc.subject การศึกษา -- วิจัย
dc.subject บัณฑิตศึกษา
dc.subject การศึกษาขั้นอุดมศึกษา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.title การสังเคราะห์งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อกำหนดมโนทัศน์และกลยุทธ์ส่งเสริมการทำวิจัย
dc.title.alternative A synthesis of grdute degree study reserch in defining concepts nd reserch strtegies from Burph University, Fculty of Eduction
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were to; 1) synthesize research reports 2) analyze research concepts and 3) develop research strategies for the Graduate school of Burapha University, Faculty of Education. The samples of this study were 396 graduate research papers at the faculty of Education, Burapha University from those student who studied in “PLAN A” curriculum in the academic year 2006 to 2015. The research papers have been published on the online system of the Thai Library Integrated System (ThaiLIS). The research instruments in this study were the research paper data records; a research qualification assessment; an appropriate conceptual framework assessment; and focus group guideline questions. The qualitative data analysis was a content analysis technique. The focus group technique was applied in order to develop research-making strategies. The findings revealed that the overall congruence of both Master degree and Doctoral degree research papers qualifications were at good levels. When considering the level of research quality, it was found that the papers ranged from excellent, good, fair, or quite low levels. The low qualification of the research papers was at the lowest levels. There were two aspects with results in excellent levels: the analytical data aspect and the research paper data presentation aspect. There were four qualification aspects with results in good levels: research methodology, introduction, literature review and the conclusion and recommendation. On the contrary, there was no aspect that was lower than “good level”. The synthesized results revealed that there were nine characteristics of the data variables affecting the differences of the research papers’ qualifications, both the Master and the Doctoral degrees, with a significance of .05 as follows: academic major, graduation year, research design, fundamental theories, research hypothesis types, sampling methods, socio-economics of sampling group, computerizing in data analysis, and a statistical basic assumption test. There were five positive correlation variables, both the Master and the Doctoral degrees, with a significance of .05 as follows: the dependent variables, independent variables, endogenous variables, number of research hypothesis, and number of methods in data analyses. There were three negative correlation variables, found in the Master degree only, with a significance of .05 as follows: the number of academic years at study, research variables, and numbers of research instruments. Specialists confirmed that all of the results of the conceptual frameworks analysis were congruent with the accuracy and applicable to the Master and Doctoral degree requirements. The specialists’ opinions were also congruent with the set research qualification assessment. Consequently, the results of conceptual framework analyses depicted the importance of limitations and basic research assumption writing and an operation towards the basic assumption by using a parametric statistical analysis. According to the developing research-making strategies, it was found that there were 15 strategies that can be divided into three groups: 1) Lectures and classroom level concerned strategies 2) Curriculum management level strategies and 3) An organizational management level strategies.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account