Abstract:
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตราด ปีการศึกษา 2560 ซึ่งใช้เกณฑ์กำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่าง จากตาราง กลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, p. 608) ได้กลุ่มตัวอย่าง 285 คน จากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามขนาดโรงเรียนเป็นชั้น แล้วทำ การสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) จำแนกตามโรงเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ครั้งนี้ จำนวน 60 ข้อ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนประถมศึกษา โดยอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .23-.93 มีค่า ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด โดยรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา รายด้านจากมากไปหาน้อย 3 อันดับ ด้านการสร้าง ความพอประมาณ ด้านการบริหารงานบนฐานของความรู้ ด้านการบริหารงานที่ตั้งอยู่บนคุณธรรม และจริยธรรม 2. การเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำแนกตามเพศ โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำแนกตาม ประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการสร้างความพอประมาณ ด้านการบริหารงานโดยใช้เหตุผล แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ 4. การเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำแนกตาม ขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการสร้าง ความพอประมาณ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ