DSpace Repository

การศึกษาความต้องการในการสร้างเสริมสมรรถภาพครูผู้สอนระดับก่อนประถมศึกษาในภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author วิมลรัตน์ จตุรานนท์ th
dc.contributor.author อลิสา เพ็ชรรัตน์ th
dc.contributor.author สุทธาภา โชติประดิษฐ์ th
dc.contributor.author สุชาติ ศรีโสภาภรณ์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:53:05Z
dc.date.available 2019-03-25T08:53:05Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/737
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการสร้างเสริมสมรรถภาพของครูระดับก่อนประถมศึกษาในภาคตะวันออก โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูระดับก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติในภาคตะวันออก 8 จังหวัด คือ จังหวัดชลบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ระยอง สระแก้ว ปราจีนบุรี และ ตราด จำนวน 1,000 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างด้วยการจับสลากเลือกโรงเรียนในแต่ละอำเภอของทุกจังหวัดในภาคตะวันออกโรงเรียนละ 1 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ด้านข้อมูลพื้นฐานของครูผู้สอนระดับก่อนประถมศึกษาในภาคตะวันออก 1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับเพศและอายุ พบว่า ครูผู้สอนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 84.06 และเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 15.94 สำหรับอายุของครูผู้สอนส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41-45 ปี คิดเป็นร้อยละ 27.20 1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพครอบครัว พบว่า ครูผู้สอนส่วนใหญ่สมรสแล้วคิดเป็นร้อยละ 76.79 และโสด คิดเป็นร้อยละ 23.21 1.3 ข้อมูลเกี่ยวกับคุณวุฒิทางการศึกษาและสาขาวิชาเอกครูผู้สอน พบว่าครูผู้สอนส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 10.20 ระดับปริญญาโทร้อยละ 2.00 และระดับปริญญาเอก ร้อยละ 0.23 ซึ่งส่วนใหญ่จะจบการศึกษาในสาขาวิชาเอกการประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 24.90 สาขาวิชาเอก การศึกษาปฐมวัย/การอนุบาลศึกษาร้อยละ 19.22 และสาขาอื่น ๆ ร้อยละ 55.88 1.4 ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์สอนของครูผู้สอนในระดับอายุต่าง ๆ พบว่าครูผู้สอนส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการสอนเด็กนักเรียนอายุ 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 55.09 สำหรับครูผู้สอนที่มีประสบการณ์สอนเด็กอายุ 4 ปี คิดเป็นร้อยละ 24.97 สำหรับครูผู้สอนที่มีประสบการณ์สอนเด็กนักเรียนอายุ 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 7.27 และครุผู้สอนที่มีประสบการณ์สอนเด็กนักเรียนอายุต่ำกว่า 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 12.66 1.5 ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์ในการเข้ารับการอบรม พบว่า ครูส่วนใหญ่เคยเข้ารับการอบรม คิดเป็นร้อยละ 84.76 สำหรับผู้ที่ไม่เคยเข้ารับการอบรมคิดเป็นร้อยละ 15.24 2. ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการความรู้ในการสร้างเสริมสมรรถภาพของครูผู้สอนระดับก่อนประถมศึกษาในภาคตะวันออก 2.1 ความรู้ด้านปรัชญาและแนวคิดในการจัดการศึกษา พบว่า ครูผู้สอนมีความต้องการมาในแต่ละหัวข้อ (X =4.04) โดยเฉพาะหัวข้อแนวทางและเทคนิคการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ( X=4.22) 2.2 ความรู้ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรม พบว่า ครูผู้สอนมีความต้องการมากในแต่ละหัวข้อ ( X=4.08) โดยเฉพาะหัวข้อแนวทางและเทคนิคการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ( X=4.22) 2.3 ความรู้สึกด้านสื่อการเรียนการสอน พบว่า ครูผู้สอนมีความต้องการมากในแต่ละหัวข้อ (X =4.16) โดยเฉพาะหัวข้อการผลิตสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กประถมศึกษา ( X=4.21) 2.4 ความรู้ด้านการวัดและประเมินผล พบว่า ครูผู้สอนมีความต้องการมากในแต่ละหัวข้อ (X =3.94) โดยเฉพาะหัวข้อการประเมินโดยการทำแฟ้มสะสมผลงาน (X =4.12) 2.5 ความรู้ด้านการจัดสภาพแวดล้อม พบว่า ครูผู้สอนมีความต้องการมากในแต่ละหัวข้อ ( X=3.97) โดยเฉพาะหัวข้อ การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน 2.6 ความรู้ด้านนวัตรกรรมการจัดการเรียนการสอน พบว่า ครุผู้สอนมีความต้องการมาก (X =3.98) โดยเฉพาะหัวข้อการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ (X =4.23) th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีงบประมาณ 2542 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ครูอนุบาล - - ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject สมรรถภาพ th_TH
dc.subject สมรรถภาพในการทำงาน th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การศึกษาความต้องการในการสร้างเสริมสมรรถภาพครูผู้สอนระดับก่อนประถมศึกษาในภาคตะวันออก th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2543


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account