Abstract:
การวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหาร กับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 315 คน โดยใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน จากนั้นจึงทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ใช้กลุ่มโรงเรียนเป็นชั้นของการสุ่ม และทำการสุ่ม อย่างง่าย (Simple random sampling) ตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) เกี่ยวกับปัจจัยการบริหาร ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีค่าอำนาจจำแนก .42-.83 ค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ .95 ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีค่าอำนาจจำแนก .51-.93 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .98 ด้านบรรยากาศองค์การ มีค่าอำนาจจำแนก .39-.87 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .95 และเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา มีค่าอำนาจจำแนก .31-.84 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และวิเคราะห์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยการบริหาร โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์การ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ 2. ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา ภายในโรงเรียน ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาโรงเรียน ด้านความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก และด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ตามลำดับ 3. ปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลางถึงระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ปัจจัยการบริหารโรงเรียน ในปัจจัยบรรยากาศองค์การด้านโครงสร้างองค์การ (ST) ปัจจัยภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลง ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (IC) ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านความรับผิดชอบต่องาน (RS) ด้านบรรยากาศองค์การด้านความขัดแย้งและการยินยอม (CF) ปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (WI) และปัจจัยบรรยากาศองค์การด้านความท้าท้ายและความรับผิดชอบ (CR) พยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยมีค่าอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 77.20 ดังสมการการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้ = .743 + .248 (ST) + .172 (IC) + .234 (RS) + .129 (CF) + .119 (WI) - .082 (CR) = .305 (ST) + .260 (IC) + .307 (RS) + .219 (CF) + .157 (WI) - .115 (CR)