DSpace Repository

การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครูโรงเรียนเอกชนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยกระบวนการวิจัยก่อรูป

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.advisor สุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.author วิโรชน์ หมื่นเทพ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:55:11Z
dc.date.available 2023-05-12T03:55:11Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7369
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครูโรงเรียนเอกชนโดยกระบวนการวิจัยก่อรูป แบ่งการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การประเมินความต้องการจำเป็นสมรรถนะการวิจัยของครูโรงเรียนเอกชนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 370 คน สำหรับตอบแบบสอบถาม และผู้ดูแลการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครูและครูที่ทำวิจัย จำนวน 8 คน สำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ประเมินความต้องการจำเป็นโดยใช้วิธี Priority need index (PNI) ร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 และ 3 เป็นการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครูในโรงเรียน เป้าหมาย ได้แก่ ครูระดับปฐมวัย จำนวน 35 คน ดำเนินการวิจัยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัยกับครู การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การทดสอบ การประเมินตนเอง การประเมินผลงานครู และการสังเกตพฤติกรรมของครูจากการทำวิจัยปฏิบัติการ ในชั้นเรียน มีการตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูลที่ได้จากการประเมินหลายวิธีด้วยการคำนวณสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องของเคนดอลล์ (W) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อันดับที่ของสเพียร์แมน (ρ) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่และร้อยละ นำเสนอด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับการบรรยายพัฒนาการของครู ผลการวิจัย พบว่า ครูมีความต้องการจำเป็นสมรรถนะการวิจัยด้านความรู้ความเข้าใจการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและด้านเจตคติที่ดีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามลำดับ ผลการใช้การวิจัยก่อรูปช่วยพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครูปฐมวัยได้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ด้านความรู้ความเข้าใจในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนา การเรียนรู้ของผู้เรียนและด้านเจตคติที่ดีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน มีครูผ่านเกณฑ์ จำนวน 31 คน คิดเป็น 88.57% ด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนา การเรียนรู้ของผู้เรียน มีครูผ่านเกณฑ์ จำนวน 29 คน คิดเป็น 82.86% ผลงานวิจัยของครู การประเมินตนเอง และการสังเกตสะท้อนสมรรถนะการวิจัยของครูได้ตรงกันทุกด้าน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การเรียนรู้
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subject สมรรถนะ
dc.subject ครู -- การศึกษาและการสอน
dc.subject โรงเรียนเอกชน -- การบริหาร
dc.subject การศึกษา -- วิจัย
dc.title การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครูโรงเรียนเอกชนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยกระบวนการวิจัยก่อรูป
dc.title.alternative The development of techer’s reserch competencies for improving lerning in privte schools through formtive reserch pproch
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This study of aimed to develop research competencies of teachers in private schools. The research process composed of three stages as follows: 1st stage-needs assessment concerning development of the private teachers’ research competencies for developing students’ learning skills. The samples in this stage were 370 teachers at the kindergarten and basic education private schools in Bangkok and vicinity and 8 supervisors overseeing progress regarding development of the private schools teachers’ research competencies as well as the teachers conducting research. The questionnaires were administered to the teachers to assess needs of research competencies. The priority need index (PNI) and content analysis were used to set priorities of needs. Regarding the 2nd-the 3rd stage, it concerned development of the private schools teachers’ research competencies in the school in which the target group was 35 early childhood teachers jointly conducting research with the researchers. The data collection at these stages was processed through the test, self-assessment, teachers’ performance assessment and observation of teachers’ behaviors. The multimeasure data were done for the congruence by using Kendall’s method and Spearman Brown’s method. Frequency, percentage and content analysis used for data analysis were with presentations of content analysis and the teachers’ progress description. The research findings suggested that the teachers mostly needed to develop their research competency areas in knowledge and understanding of classroom action research for development of students’ learning skills followed by skills of classroom action research for students’ learning skills development and positive attitude towards classroom action research for students’ learning skills development. The result revealed that the formative research could develop the early childhood teachers’ research competency areas in knowledge and understanding of classroom action research for students’ learning skills development at 80% while there was the number of 31 teachers having positive attitude towards classroom action research equal to 88.57%. In addition, it showed that the formative research could develop 31 teachers equal to 82.86% in section of classroom action research for development of teachers’ learning skills. In summary, the teachers’ research, self-assessment and reflective thinking regarding teachers’ research competencies were consistent all aspects of the study.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account