Abstract:
งานวิจัยนี้เสนอการศึกษาเปรียบเทียบตัวแบบการจัดการชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับงานซ่อมบำรุงของเครื่องจักรที่สำคัญของกระบวนการผลิต เมื่อมีปริมาณความต้องการต่ำไม่ต่อเนื่องแต่มีความผันแปรสูงโดยเปรียบเทียบระหว่างตัวแบบ Q, r ตัวแบบ Max-Min ตัวแบบ T, s, S สำหรับกรณีที่ไม่ทราบความต้องการและตัวแบบคณิตศาสตร์ชนิดโปรแกรมเชิงเส้นจำนวนเต็มผสม สำหรับกรณีที่ทราบความต้องการใช้ตัวอย่างชิ้นส่วนอะไหล่จำนวน 15 ชนิด ที่มีการแจกแจง แบบปัวส์ซอง 10 ชนิด และแบบลอคนอร์มอล 5 ชนิด ประสิทธิภาพของตัวแบบพิจารณาจากดัชนี ต้นทุนการจัดการรวมเฉลี่ยและระดับบริการเฉลี่ยการประเมินคำตอบของตัวแบบ Q, r ตัวแบบ Max-Min และตัวแบบ T, s, S ใช้การจำลองสถานการณ์มอนติคาร์โล ส่วนตัวแบบคณิตศาสตร์จะประเมินคำตอบที่ดีที่สุดด้วยเอก็เซลโอเพน่ โซลเวอร์ 2.8.6 ผลการวิจัยพบว่า ในกรณีที่ทราบความต้องการตัวแบบโปรแกรมเชิงเส้นจำนวนเต็มผสม จะให้ผลลัพธ์ที่มีต้นทุนการจัดการรวมเฉลี่ยต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับตัวแบบอื่น ๆ เสมอ ที่ความต้องการชุดเดียวกันและระดับบริการเฉลี่ยในระดับที่ยอมรับได้สำหรับกรณีที่ไม่ทราบความต้องการตัวแบบ Max-Min ให้ผลลัพธ์ที่มีต้นทุนการจัดการรวมเฉลี่ยต่ำกว่าตัวแบบ Q, r และตัวแบบ T, s, S ร้อยละ 6.99 และร้อยละ 24.70 ตามลำดับ และมีระดับบริการในระดับที่ยอมรับได้ งานวิจัยนี้ยังพบว่า ในกรณีของความต้องการต่ำและไม่ต่อเนื่องการกำหนดระดับชิ้นส่วนสำรองเพื่อความปลอดภัยจากการแจกแจงของความต้องการที่แท้จริงจะมีความเหมาะสมมากขึ้น ดังนั้น การเลือกนโยบายการจัดการอะไหล่คงคลังที่เหมาะสมจึงต้องพิจารณาพฤติกรรมของความต้องการที่แท้จริงด้วย