DSpace Repository

ผลการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาเรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักร 7 ขั้น ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Show simple item record

dc.contributor.advisor เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์
dc.contributor.advisor สาลินี ขจรพิสิฐศักดิ์
dc.contributor.author เรวัตร เพ็งด้วง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:45:44Z
dc.date.available 2023-05-12T03:45:44Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7323
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกและการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนพัทลุง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนที่เน้นวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 80 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุม คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 40 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบแผนการทดลองแบบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่ได้จากการสุ่มมีการวัดก่อนและหลังการทดลองเก็บรวบรวมข้อมูลจากเครื่องมือ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ 2 แบบ คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติและแผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกแบบทดสอบชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 2 ฉบับ คือ แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกมีคะแนนความสามารถการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาพื้นฐาน เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมสูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกมีความคงทนในการเรียนรู้ไม่แตกต่างกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ชีววิทยา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา
dc.subject ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
dc.subject สิ่งมีชีวิต
dc.subject ชีววิทยา -- กิจกรรมการเรียนการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subject ชีวิต (ชีววิทยา)
dc.title ผลการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาเรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักร 7 ขั้น ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
dc.title.alternative Effects of biologicl lerning mngement in the topic of orgnism nd environment using 7e lerning cycle with knowledge summrizing in grphic orgnizer to improve science nlyticl thinking lerning chievement nd retention of grde 10thstudents
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to compare grade 10 students’ analytical thinking ability, learning achievement and learning retention between the students who learned through 7E learning cycle with graphic organizer and the students who learned through 7E leaning cycle only. The participants were 80 grade 10th students of Phatthalung School who were studyingin science and mathematics program in the first semester of 2017. The design of this research was a randomized control group pretest-posttest design. The data was collected using 2 types of teaching plan including the 7E learning cycle and the 7E learning cycle with graphic organizer and 2 types of exam that included 4 multiple choice questions for analytical thinking ability test and learning achievement exams. The research findings were the grade 10th students who learned through 7E learning cycle with graphic organizer had higher scoreboth science analytical thinking ability and student achievement than those who learned through conventional teaching model at .05 level of significance. Nevertheless the research showed that the retention learning of the student on the topic of organism and environment not different to those who learned through conventional teaching model at .05 level of significance
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ชีววิทยาศึกษา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account