Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายและมาตรการ กฎหมาย นโยบายและ มาตรการ ในการจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย และเพื่อศึกษาการดําเนินการ ปัญหา ข้อจํากัด และเสนอแนวทางในการพัฒนาการจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ไทย รูปแบบการศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research)โดยการได้มาของผู้ให้ข้อมูลสําคัญ คือ 1.การวิจัยเอกสาร และ 2. การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลที่สําคัญ ได้แก่ สํานักจัดหางานจังหวัดชลบุรี, เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง, บุคลากรสาธารณะ สุขจังหวัดชลบุรี, เจ้าหน้าที่ตํารวจสถานีตํารวจภูธรจังหวัดชลบุรี, ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี, นักวิชาการด้านแรงงาน, ผู้ประกอบการในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี, ลูกจ้างแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรม ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรีของประเทศไทย จํานวน 14 ราย การวิเคราะห์ ข้อมูล จะนําข้อมูลที่ได้จาก การสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสาร วิธีการวิเคราะห์คือพรรณนาข้อมูลและวิเคราะห์ตีความข้อมูลเพื่อ สร้างข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางที่เหมาะสมสําหรับการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ ผลการวิจัยพบว่าหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายและมาตรการในการจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยนั้น มีสํานักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานดําเนินการเป็นหลัก โดยปฏิบัติงานร่วมกับกระทรวงต่าง ๆ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานส่วนภูมิภาคที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายและมาตรการในการจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ ที่สําคัญคือ สํานักงานหางาน จังหวัดศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One stop service) ที่ว่าการอําเภอ กองทัพแต่ละภาค โรงพยาบาล สถานี ตํารวจภูธร และกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง กฎหมายที่ใช้ในการจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย พบว่ามีกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องหลักอยู่ 6 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการทํางานของคนต่างด้าวฉบับปี พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. 2533 และพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 นโยบายและมาตรการในการจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยตลอด 20 ปีที่ผ่านมามีมาตรการที่สําคัญ ได้แก่ 1. มาตรการในจําแนกประเภทแรงงานข้ามชาติจากพม่า กัมพูชา และลาว 2.การจัดตั้ง คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) และ 3.การจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ แนวทางในการพัฒนาการจัดการความมั่นคงด้านแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย มีดังนี้ 1. ด้านความมั่นคงควรมีการเสริมอัตรากําลังเจ้าหน้าที่ และงบประมาณให้เหมาะสมกับงานด้านความมั่นคง การปรับปรุงกฎหมายให้มีความชัดเจนและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง รวมถึงการเพิ่มบทลงโทษให้มีความรุนแรงมากขึ้น 2.ด้านเศรษฐกิจ ควรมีการแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในการใช้แรงงาน อาทิ ค่าจ้าง ชั่วโมงการทํางาน การลาหยุด ฯลฯ ลดการใช้แรงงานต่างด้าวในภาคธุรกิจ ปรับปรุงระเบียบการปฏิบัติให้สะดวกต่อการจ้างแรงงานต่างด้าว และพิจารณาปรับลด ค่าดําเนินการในการขึ้นทะเบียนหรือต่ออนุญาตในกลุ่มธุรกิจที่มีความขาดแคลนแรงงาน 3. ด้านสังคม/ สาธารณสุข ควรกําหนดให้นายจ้างควรเป็นผู้ให้การช่วยเหลือลูกจ้างแรงงานต่างด้าว ทุกกรณี อาทิ การ จัดหาที่อยู่อาศัย สถานพยาบาล รวมถึงสาธารณูปโภคให้ความสําคัญกับปัญหาเรื่องโรคติดต่อของแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทํางานในประเทศ และรัฐบาลควรมีการฝึกอบรมเกี่ยวกับภาษา และวัฒนธรรมไทยให้แก่แรงงานต่างด้าวก่อนเข้าทํางาน โดยให้นายจ้าง หรือ แรงงานต่างด้าวเป็นผู้รับภาระค่าฝึกอบรมแล้วแต่สัญญาจ้าง 4. ด้านสิทธิมนุษยชนรัฐบาลควรปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ของแรงงานต่างด้าวให้ชัดเจนมากขึ้น ให้แรงงานต่างด้าวสามารถเข้าถึงสวัสดิการภาครัฐได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาล สถานศึกษา สาธารณูปโภค ฯลฯเพิ่มบทลงโทษในฐาน ความทําผิดเกี่ยวกับเรื่องค้ามนุษย์ และควรมีการคุ้มครองผู้เสียหายและพยานที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการค้ามนุษย์