Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาการนํามาตรการลงโทษทางอาญาตาม ประมวลกฎหมายที่ดินมาบังคับใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้จริงต่อบุคคลผู้กระทําการฝ่าฝืนการถือครองที่ดินของบุคคลต่างด้าว ทั้งต่อตัวบุคคลต่างด้าวและบุคคลผู้มีส่วนร่วมกระทําความผิดด้วย โดยศึกษาถึงกรณีบุคคลต่างด้าวที่เป็นบุคคลธรรมดาและการถือครองที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยประสบปัญหาการนํามาตรการบังคับโทษทางอาญาตาม มาตรา 111 และมาตรา 113 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินมาบังคับใช้แก่บุคคลต่างด้าวและบุคคลผู้มีส่วนร่วมในการฝ่าฝืนต่อการถือครองที่ดินตามบทบัญญัติว่าด้วยการกําหนดสิทธิในที่ดินของบุคคลต่างด้าวตามประมวลกฎหมายที่ดิน ด้วยการให้บุคคลผู้มีสัญชาติไทยมีชื่อถือครองที่ดินแทนและจดทะเบียนก่อภาระผูกพันในที่ดินเพื่อให้บุคคลต่างด้าวเป็นผู้ทรงสิทธิมีอํานาจบงการครอบงําเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดิน ได้อย่างเป็นเจ้าของที่ดินมีกําหนดระยะเวลายาวนาน สาเหตุของปัญหาที่สําคัญเกิดจากการไม่ใช่อํานาจในการสืบสวนสอบสวนของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบอย่างแท้จริง เนื่องจากไม่มีการแต่งตั้งพนักงาน เจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ รวมถึงบทกําหนดโทษจําคุกและโทษปรับที่มีตาม ประมวลกฎหมายที่ดินอาจยังไม่เพียงพอต่อการยับยั้งป้องกันการกระทําความผิดซ้ำของผู้มีส่วนร่วมฝ่าฝืนการถือครองที่ดินของบุคคลต่างด้าวได้ จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะให้ปรับปรุงประมวลกฎหมายที่ดินโดยแต่งตั้งเจ้าพนักงานที่ดินเป็นพนักงานสอบสวนมีอํานาจสอบสวนความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินเพื่อส่ง พนักงานอัยการฟ้องดําเนินคดีต่อศาลยุติธรรมได้ และเพิ่มเติมมาตรการบังคับทางอาญาโดยนําวิธีการเพื่อ ความปลอดภัยห้ามมิให้บุคคลผู้มีส่วนร่วมกระทําความผิดต่อการถือครองที่ดินของบุคคลต่างด้าวมีสิทธิ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองที่ดินขึ้นใหม่เป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษตามคําพิพากษาศาล เพื่อเป็นการป้องกันการกระทําความผิดซ้ำรวมทั้งเสนอให้มีการจัดตั้งหน่วยงานกลางภายในกรมที่ดินขึ้นใหม่ให้มีโครงสร้างความรับผิดชอบต่อการรวบรวมข้อมูลและดําเนินมาตรการการถือครองที่ดินของบุคคลต่างด้าวให้สามารถบังคับใช้ได้จริง