DSpace Repository

ความคิดเห็นต่อการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ของสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor โอฬาร ถิ่นบางเตียว
dc.contributor.author พรพรรษา ศิริพิพัฒน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:39:12Z
dc.date.available 2023-05-12T03:39:12Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7264
dc.description งานนิพนธ์ (ร.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรในสังกัดสํานักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง และเสนอแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 5 ด้าน คือ ด้านการสรรหาบุคลากร ด้านประสิทธิภาพของบุคลากร ด้านการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร และด้านสวัสดิการของบุคลากร โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative method) เก็บแบบสอบถามจากประชากร จํานวน 289 คน ผลการศึกษาความคิดเห็นพบว่า 1. ด้านการสรรหาบุคลากร หน่วยงานขาดบุคลากรในปฏิบัติงาน และขาดจัดทําหลักเกณฑ์การสรรหาบุคลากร 2. ด้านประสิทธิภาพของบุคลากร บุคลากรขาดประสิทธิภาพในการทํางานและขาดความสามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะได้อย่างรวดเร็ว 3. ด้านการพัฒนาสมรรถนะของ บุคลากร ซึ่งบุคลากรขาดการพัฒนาสมรรถนะที่เพียงพอต่อการนําไปใช้ปฏิบัติงาน 4. ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานไม่เหมาะสมกับปริมาณงานที่ได้รับมอบหมายและตําแหน่งของ บุคลากร และ 5. ด้านสวัสดิการของบุคลากร หน่วยงานขาดการจัดค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของบุคลากร แต่ทั้งนี้ บุคลากรมีความพึงพอใจในด้านการจัดสวัสดิการของหน่วยงาน ข้อเสนอแนะสําหรับการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1. ด้านการสรรหาบุคลากร โดยหน่วยงานต้องนําหลักความสามารถ (Competence) หลักความเสมอภาค (Equality of opportunity) และหลักความมั่นคง (Security on Tenure) ตลอดจนการนําแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมมาปรับใช้กับการสรรหา 2. ด้านประสิทธิภาพของบุคลากร ควรพัฒนาให้บุคลากรมีศักยภาพ และจูงใจบุคลากรในการปฏิบัติงานด้วยการตอบสนองความจําเป็นพื้นฐาน และให้ความก้าวหน้าในตําแหน่ง 3. ด้านการพัฒนาสมรรถนะ ควรจัดให้มีการฝึกอบรมแก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง เน้นการพัฒนาความรู้ความสามารถตามหน้าที่ตลอดจนฝึกอบรมสร้างทักษะการปฏิบัติงานในด้านอื่น ๆ 4. ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ควรกําหนดรูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานให้เหมาะสม พิจารณา ความยากของเนื้องาน ปริมาณงานที่ได้รับมอบหมาย และผลงานเชิงประจักษ์ และ 5. ด้านสวัสดิการของบุคลากร หน่วยงานควรพิจารณาอัตราค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ปริมาณงาน สภาวะเศรษฐกิจ และช่วยเหลือ ค่าครองชีพให้แก่ข้าราชการทุกระดับ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การบริหารงานบุคคล
dc.subject กรมการปกครอง -- สำนักการสอบสวนและนิติการ -- การบริหาร
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
dc.title ความคิดเห็นต่อการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ของสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
dc.title.alternative The personl opinions towrd humn resource mngement of Investigtion nd Legl Affirs Bureu Deprtment of Provincil Administrtion
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objective of this research is to study the opinions of officers of Investigation and Legal Affairs Bureau, Department of Provincial Administration, regarding human resource management, and suggest the solutions on 5aspects; Personnel recruitment, Personnel efficiency, Personnel competency development, Personnel performance evaluation, and Personnel benefits. The suggestions are based on the survey collected from 289respondents (using quantitative method). The survey indicates that the bureau has encountered difficulties regarding 1.Personnel Recruitment: the organization lacks officers to operate the tasks, and there is no personnel recruitment criteria. 2.Personnel Efficiency: the officers are unable to perform the assignments efficiently, or handle problems quickly. 3.Personnel Competency Development: the personnel do not develop sufficient competency needed to perform the tasks. 4.Performance Evaluation: performance evaluation system is not suitable for the position and workload which personnel has been assigned. 5.Personnel Benefits: the organization does not provide suitable compensation for personnel knowledge and capability, even though the personnel are still satisfied with the current benefits. The suggestions based on this research include 1.Personnel Recruitment: the organization must apply the concepts of competence, equality of opportunity and security on tenure, and apply participative management to recruitment processes. 2.Personnel Efficiency: the organization should develop personnel to have specialized skills, and encourage them to perform the tasks by fulfilling their basic needs, and offering opportunity to grow in career paths. 3.Personnel Capability Development: the organization should continually arrange training courses to develop knowledge related to personnel roles, and improve other skills. 4.Performance Evaluation: the organization should decide an appropriate performance evaluation pattern, based on the complexity of tasks, the number of assignments, and empirical products. And 5.Personnel Benefit: the organization should decide the suitable payment to work features, workload, economy condition, and support costs of living for government officers in every level.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account