dc.contributor.advisor |
โอฬาร ถิ่นบางเตียว |
|
dc.contributor.author |
พิมพิ์ญาดา นางาม |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:39:11Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:39:11Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7262 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ร.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกระบวนการสะสมทุนทางเศรษฐกิจและทุนทางสังคม การก่อรูปโครงสร้างอํานาจสู่การปกครองส่วนท้องถิ่น รวมไปถึงรูปแบบและกระบวนการของการได้มาและการคงไว้ซึ่งฐานอํานาจที่มีมาอย่างยาวนานของบ้านใหญ่ในจังหวัดแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพแนวประวัติศาสตร์ ได้แก่ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษามีข้อค้นพบว่าบ้านใหญ่ในจังหวัดแห่งหนึ่งของประเทศไทยมีการสะสมทุนทางเศรษฐกิจมาจากการทําธุรกิจสัมปทานป่าไม้ในผืนป่าภาคหนึ่งของไทย หลังจากนั้นได้ขยายกิจการไปยังผืนป่าชายแดนไทย-พม่า กระทั่งมีฐานะร่ำรวยมั่งคั่ง ต่อมาจึงเริ่มสะสมทุนทางสังคมโดยอาศัยพื้นฐานการเป็นคนที่มีจิตใจดีโอบอ้อมอารีให้การช่วยเหลือผู้คนอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับกลุ่มชนชั้นนําข้าราชการ นักการเมืองในลักษณะ “เพื่อนต่อเพื่อน” จากนั้นแล้วมีการก่อรูปโครงสร้างอํานาจด้วยการสนับสนุนพรรคพวกลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะได้มีการสนับสนุนทายาทในครอบครัวและบุคคลภายในเครือข่ายได้มีตําแหน่งทางการเมืองในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยอาศัยกลไกระบบอุปถัมภ์ในลักษณะที่เรียกว่าเป็น “กระเป๋าเเงิน” ทั้งนี้เพื่อเป็นการหล่อเลี้ยงให้ระบบของขั้วอํานาจและโครงสร้างอํานาจท้องถิ่นของบ้านใหญ่แห่งนี้ สถาปนาขึ้นมานั้นสามารถดํารงอยู่ได้อย่างไรก็ตามในการสร้างรูปแบบและกระบวนการของการได้มาและการดํารงรักษาไว้ ซึ่งอํานาจทางการเมืองนั้น ผลการศึกษาครั้งนี้ มีข้อค้นพบว่าเกิดจากการรวบรวมเครือข่ายทางการเมืองในระดับต่าง ๆ ไว้อย่างมั่นคง โดยเริ่มตั้งแต่การเมืองระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับชาติ นอกจากนี้จึงมีการเชื่อมร้อยความสัมพันธ์ทางเครือข่ายกับกลุ่มชนชั้นนําต่าง ๆ ไว้อย่างแนบแน่น ด้วยการอาศัยทุนทางเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือสําคัญสําหรับ เชื่อมประสาน เป็นการสร้างกลยุทธ์ระบบการควบคุมแบบสามเหลี่ยมปิรามิด กล่าวคือ การให้กลุ่มเครือข่ายที่ได้รับการอุปถัมภ์คอยดูแลในแต่ละพื้นที่ฐานเสียง และรายงานความเคลื่อนไหวให้บ้านใหญ่ได้รับทราบ จึงทําให้ฐานเสียงทางการเมืองของบ้านใหญ่แห่งนี้ดําเนินมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และมีความมั่นคงด้วยพระเดชและพระคุณของบ้านใหญ่แห่งที่ได้ศึกษานี้ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ |
|
dc.subject |
ไทย -- การเมืองและการปกครอง |
|
dc.subject |
การกระจายอำนาจปกครอง |
|
dc.subject |
การปกครองส่วนท้องถิ่น |
|
dc.title |
โครงสร้างอำนาจบ้านใหญ่ : กรณีศึกษาบ้านใหญ่ของจังหวัดแห่งหนึ่งในประเทศไทย |
|
dc.title.alternative |
Big house structure :b cse study of one of the big houses in thilnd |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
เศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ |
|
dc.degree.name |
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|