DSpace Repository

ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ไพฑูรย์ โพธิสว่าง
dc.contributor.author อาภาวรรณ สำเนียง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:39:10Z
dc.date.available 2023-05-12T03:39:10Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7256
dc.description งานนิพนธ์ (ร.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การศึกษาขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ศึกษา คือ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี จํานวน 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ t - Test สําหรับเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระ 2 กลุ่ม และใช้สถิติ One - way ANOVA การวิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้โปรแกรมสําเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ชลบุรี มีขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีในด้านความสําเร็จของงานอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านนโยบายการบริหาร, ด้านสภาพแวดล้อมในการทํางาน, ด้านการยอมรับนับถือ, ด้านความมั่นคงในการทํางาน, ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล, ด้านลักษณะของงาน, ด้านความก้าวหน้าในตําแหน่งหน้าที่, ด้านความรับผิดชอบ และด้านรายได้สวัสดิการมีระดับขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานน้อยที่สุดตามลําดับ ผลการเปรียบเทียบขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีโดยการทดสอบสมมติฐาน จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อายุ ประเภทของตําแหน่งงาน อัตราเงินเดือน และระยะเวลาที่รับราชการ ที่ต่างกันจะมีขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย และข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีที่มีเพศ สถานภาพสมรส และระดับการศึกษาสูงสุด ที่ต่างกันจะมีขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน ที่นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ไม่เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย และข้อเสนอแนะในการศึกษาขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ด้านรายได้สวัสดิการ รัฐบาลควรให้ความสําคัญกับรายได้ของข้าราชการส่วนท้องถิ่นในการดูแลด้านปัจจัยขั้นพื้นฐานให้มีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และพอเพียงที่จะสามารถเก็บไว้เป็นเงินออมได้ เพื่อมีคุณภาพชีวิตที่ดี และในด้านโอกาสความก้าวหน้าในหน้าที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ควรมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรได้เข้ารับการอบรมสัมมนา ให้ทุนการศึกษา เป็นการเพิ่มโอกาสในความก้าวหน้าในหน้าที่มากขึ้นอีกทาง
dc.language.iso th
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การปกครองท้องถิ่น -- ไทย -- ชลบุรี
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
dc.subject ขวัญในการทำงาน
dc.subject ข้าราชการ
dc.subject องค์การบริหารส่วนตำบล -- ไทย -- ชลบุรี
dc.title ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
dc.title.alternative Morle of government officils in Chonburi provincil dministrtive orgniztion
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research was to study the morale of government officials in Chonburi Provincial Administrative Organization and compare the morale of government officials in Chonburi Provincial Administrative Organization by classifying on the personal factors, study on 168 government officials in Chonburi Provincial Administrative Organization. The instrument of the study was the questionnaires. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean and standard deviation, t-test and one way ANOVA. The results of this study revealed that the level of morale of government officials in Chonburi Provincial Administrative Organization was highest level, when considering each aspect were as follow; the aspect of the successfully of work was highest level, followed by the aspect of the policy of administrative, the working environment, the respectfulness, the suitable of work, the co-worker relation, the job characteristic, the opportunities in work promoted, the responsibility, the salary and welfare. The result of compare the morale of government officials in Chonburi Provincial Administrative Organization by classifying on the personal factors it was found that the difference of age, job position, salary and period of employment it was found difference at the .05 level of statistical significance (accept hypothesis) and that the difference of gender, status, education it wasn’t found difference at the .05 level of statistical significance (reject hypothesis). Guideline for building morale of government officials in Chonburi Provincial Administrative Organization in the aspect of salary and welfare that thegovernment should focus on the income of local government officials, take care about their basic factors, primary needs to suit current economic conditions for their salary enough to be save as saving for a good quality of life. In aspect the opportunities in work promoted, Chonburi Provincial Administrative Organization should have policy to promote and encourage personnel to attend training, seminar and provide a scholarship, that the way to building and maintenance morale of government officials in Chonburi Provincial Administrative Organization.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การเมืองการปกครอง
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account