dc.contributor.advisor |
สมนึก ทองเอี่ยม |
|
dc.contributor.advisor |
ประยูร อิ่มสวาสดิ์ |
|
dc.contributor.author |
ทิพย์วิมล กุมภะ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:39:09Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:39:09Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7250 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนขนาดกลางในเขตอำเภอบางน้ำเปรี้ยว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนในระดับปฐมวัยของโรงเรียนขนาดกลางในเขตอำเภอบางน้ำเปรี้ยว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 จำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนขนาดกลาง ในเขตอำเภอบางน้ำเปรี้ยว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 พิจารณาความตรงตามเนื้อหาและความเหมาะสมเท่ากับ .80-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกของแบบประเมิน .44-.88 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของแบบประเมิน เท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ร้อยละสะสม คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนา ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพที่เป็นจริงในปัจจุบันของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนขนาดกลางในเขตอำเภอบางน้ำเปรี้ยว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น เรียง 3 อันดับ ได้แก่ ด้านที่ 1 ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านที่ 3 ด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และด้านที่ 2 ด้านการจัดการศึกษา ตามลำดับ 2. สภาพที่ควรจะเป็นในความคาดหวังของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนขนาดกลางในเขตอำเภอบางน้ำเปรี้ยว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งต้องพัฒนาต่อไป เรียง 3 อันดับ ได้แก่ ด้านที่ 2 ด้านการจัดการศึกษา ด้านที่ 4 ด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา และด้านที่ 5 ด้านมาตรการส่งเสริม ตามลำดับ 3. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนขนาดกลางในเขตอำเภอบางน้ำเปรี้ยว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยรวม พบว่า ต้องการพัฒนา เรียง 3 อันดับ ได้แก่ ด้านที่ 1 ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านที่ 3 ด้านการสร้างสังคม แห่งการเรียนรู้ และด้านที่ 2 ด้านการจัดการศึกษา ตามลำดับ 4. ข้อเสนอแนะ คือ ควรบูรณาการการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการคิด วิเคราะห์ของเด็กให้มากขึ้น สร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครองให้ร่วมมือดูแลเด็กและจัดการศึกษา ใช้ครูตรงสาขา จัดกิจกรรมพัฒนาเด็กให้บรรลุตามเป้าหมายการจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างแท้จริง และในการดำเนินงานโครงการหรือกิจกรรมที่ตอบสนองตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาควรมีความยืดหยุ่น และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
การศึกษาปฐมวัย |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
|
dc.subject |
การศึกษาปฐมวัย -- การควบคุมคุณภาพ |
|
dc.subject |
ประกันคุณภาพการศึกษา |
|
dc.title |
การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับประถมวัยของโรงเรียนขนาดกลางในเขตอำเภอบางน้ำเปรี้ยว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 |
|
dc.title.alternative |
The opertionl for erly childhood eductionl qulity ssurnce in bngnmprio medium-sized school of chchoengso primry eductionl service re office |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aimed to study the early childhood internal educational quality assurance operation system at Bangnampriao medium size school under the Office of Primary Educational Service Chachoengsao Area Office 1. The data collection tool was a questionnaire with the content validity between .80 - 1.00, the discriminative power of .44 - .88 and the reliability of .97. The statistics employed were mean ( ), standard deviation ( ), modified priority needs index (PNImodified), percentage (%) and comulative percentage (% com) for data analysis. The population was 160 administrators and teachers of early childhood schools. The results were that; The Early Childhood Internal Educational Quality Assurance operation system in Bangnampriao medium size school had the degree of success in internal quality Assurance operation system at the high level. They were: students’ quality, ereating learning society, and educational management, respectively. The index of expectation was at very high level”, they were; the internal school educational management, the school identities, and school of support & promotion respectively. The need for developing the quality of school education concerned Quality Assurance operation system in Bangnampriao medium size school had development needs assessment the students’ quality, the creating of learning society, the internal school educational management, the school identities and the support & promotion of school. The suggestions for development of the internal educational quality assurance operation system were that; There should be the activity that promote students’ thinking and analytical skill encouranging parents to take more eare of their children, providing teachers who were trained in their teaching subject area provide early childhood activity accordingly to eht early childhood principle. Manage educational activities of the educational reform flecibly. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารการศึกษา |
|
dc.degree.name |
การศึกษามหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|