Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ข้อที่ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าสู่อํานาจทางการเมืองของนายกเมืองพัทยา และข้อที่ 2. เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าสู่อํานาจทางการเมืองของนายกเมืองพัทยา วิธีการศึกษาจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่เมืองพัทยา จํานวน 399 คน นํามาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) กําหนดนัยสําคัญทางสถิติไว้ที่ .05 เพื่อตอบวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการวิจัย ซึ่งเป็นข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การเก็บข้อมูลจาก แบบสอบถามส่วนวัตถุประสงค์ข้อที่ 3. เพื่อศึกษาวิธีการเข้าสู่อํานาจทางการเมืองของนายกเมือง พัทยานั้น จะใช้วิธีการสัมภาษณ์ประชากรในพื้นที่กลุ่มตัวอย่างแล้วนําข้อมูลมาวิเคราะห์เกี่ยวกับ วิธีการเข้าสู่อํานาจทางการเมืองของนายกเมืองพัทยาเพื่อสนับสนุนข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเข่าสู่อํานาจทางการเมืองของนายกเมืองพัทยามีอยู่ 6 ปัจจัย โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านระบบอุปถัมภ์ รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการสื่อสารทางการเมือง (การจัดเวทีปราศรัย, ปัจจัยด้านการแจกเงินหรือสิ่งของ, ปัจจัยด้านตัวบุคคล (คุณสมบัติส่วนตัวทางด้านการมีมนุษย์สัมพันธ์), ปัจจัยด้านนโยบาย, และปัจจัยด้านการบริจาคเงิน แก่สาธารณะเพื่อช่วยเหลือสังคม ตามลําดับ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ เขตพื้นที่เมืองพัทยา The Entering to the political power= -2.540 + .933 Patronage + .032 Campaign - .014 Money + .038 Relation - .016 Policy + .008 Donation ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น จากการสัมภาษณ์พบว่า วิธีการเข้าสู่อํานาจทางการเมืองของ นายกเมืองพัทยา มีการใช้วิธีการอุปถัมภ์เป็นหลัก ซึ่งในพื้นที่ของเมืองพัทยานั้นเป็นพื้นที่ของการ ผูกขาดอํานาจทางการเมืองท้องถิ่น มีการสร้างเครือข่ายพรรคพวกไว้อย่างหนาแน่น มีการจัดตั้งกลุ่ม การเมือง โดยใช้ชื่อว่า “ทีมเรารักษ์พัทยา” เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพให้กับกลุ่มการเมือง บริบท แวดล้อมโดยรอบของสังคมเป็นไปในลักษณะการอุปถัมภ์ซึ่งกันและกัน ส่วนข้อเสนอแนะควรนํา ผลวิจัยในครั้งนี้ไปขยายขอบเขตการวิจัย จนนําไปสู่การพัฒนาทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ รวมถึง ภาครัฐจะต้องสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เกิดขึ้น