DSpace Repository

คุณภาพบัณฑิตและปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author กาญจนา มณีแสง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:53:04Z
dc.date.available 2019-03-25T08:53:04Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/723
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องคุณภาพบัณฑิตและปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพบัณฑิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาพลศึกษา ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2537 ถึง 2539 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลถึงคุณภาพของบัณฑิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง บัณฑิตในตลาดแรงงานจำนวน 460 คน ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 140 คน อาจารย์ผู้สอนนิสิตระดับปริญญาตรี จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพบัณฑิต ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. บัณฑิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) และบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาพลศึกษา มีคุณลักษณะมาก 34 รายการ ซึ่งสอดคล้องกับความจำเป็นต้องมี คุณลักษณะมาก 5 อันดับคือ มีความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ มีความใฝ่รู้ในเรื่องเกี่ยวกับงานที่ทำ มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ มีจิตใจกว้าง 2. ปัจจัยที่ส่งผลถึงคุณภาพบัณฑิต ได้แก่ โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป หมวดวิชาชีพครู หมวดวิชาเอก หมวดวิชาโท ของหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) มีความเหมาะสมดี ส่วนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณทิต (วท.บ.) สาขาวิชาพลศึกษามีโครงสร้างหลักสูตรเหมาะสมดี พฤติกรรมการสอนและคุณลักษณะของอาจารย์ที่ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิต คือ อาจารย์มีความรู้ดีในวิชาที่สอน เป็นผู้นำด้านวิชาการ มีคุณธรรม มีการเตรียมการสอนอย่างดี มีประมวลการสอนแจกนิสิต นิสิตส่วนใหญ่เข้าเรียนสม่ำเสมอ เข้าห้องสมุดค้นคว้าและร่วมกิจกรรมนิสิต th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนจากเงินงบประมาณรายได้ประจำปี 2540 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. en
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กำลังคนระดับอุดมศึกษา th_TH
dc.subject บัณฑิต th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title คุณภาพบัณฑิตและปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative Quality of Graduates and Factors Affecting Quality of Graduates of Faculty of Education Burapha University en
dc.type Research th_TH
dc.year 2542
dc.description.abstractalternative The purpose of this research were: first,to evaluate the quality of Burapha garduates who completed their education in the academic years of 1994-1996 in the programs of Bachelor Degree of Education; and second,to investigate factors affecting the quality of graduates from Faculty of Education, Burapha University. The sample of the study consisted of 460 graduates in the labor force, 140 graduates' supervisors and employees, and 60 lecturers teaching at the undergraduate level. The instrument used for collecting the data was a questionnaire on graduates' quality and factors affecting graduates' quality. Percentage, mean, and standard deviation were employed for the data analysis. The findings were as follows: 1. Graduates from the programs of Bachelor Degree of Education (B.Ed.) and Bachelor Degree of Science (B.Sc.) in the field of Physical Education had 34 characteristics rated at a high level, which was in accordance with the necessity. The 5 characteristics rated at a high level were: knowledge and abilities in their responsibilities, being curious about their task assignments, and being broad-minded. 2. The factor affecting graduates' quality concerning the curriculum framework, which consisted of General Education, Teaching Professional, Major Subject, and Minor Subject of the programs of Bachelor Degree of Education (B.Ed.) and Bachelor Degree of Science (B.Sc.) in the field of Physical Education, was found appropriate. Also, lecturers' teaching behaviors and characteristics affecting graduates' quality were being knowledgeable about their courses, leading academics, moral, well-prepared in teaching and in course syllabus preparation. Most of the students had frequent class attendance, studying in the library, and participation in activities en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account