dc.contributor.advisor |
เพ็ญนภา กุลนภาดล |
|
dc.contributor.advisor |
ประชา อินัง |
|
dc.contributor.author |
นิ่มนวล ชูยิ่งสกุลทิพย์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:39:05Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:39:05Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7236 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการจัดการภาระครอบครัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการจัดการภาระครอบครัวที่มีต่อความสุขในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 3) เพื่อเสริมสร้างการจัดการภาระครอบครัว และความสุขในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการ การววิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบการจัดการภาระครอบครัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และศึกษาอิทธิพลของการจัดการภาระครอบครัวที่มีต่อความสุขในครอบครัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครอบครัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มารับบริการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลเขตบริการสุขภาพที่ 6 จำนวน 388 ครอบครัว ประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และคู่สมรสของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งหมด 776 คน ขั้นตอนที่ 2 การเสริมสร้างการจัดภาระครอบครัว และความสุขในครอบครัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการ ผู้วิจัยคัดเลือกครอบครัว เพื่อเข้าร่วมการทดลองจากครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลระยอง จำนวน 83 ครอบครัว ที่มีคะแนนการจัดการภาระครอบครัวต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 ลงมาได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 ครอบครัว โดยทำการจับคู่ระหว่างกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันมากที่สุด แล้วทำการสุ่มตัวอย่างง่ายด้วยด้วยวิธีการจับสลาก เพื่อเข้าเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามระบบปกติของโรงพยาบาล และกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการที่พัฒนาขึ้น กลุ่มละ 10 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดการจัดการภาระครอบครัว แบบวัดความสุขในครอบครัว และการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการ จำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที โดยใช้รูปแบบการทองแบบ 2 กลุ่ม และมีการวัดซ้ำ แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผล การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติขึ้นพื้นฐาน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการศึกษาวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. องค์ประกอบการจัดการภาระครอบครัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดการความตึงเครียดของครอบครัว การจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว การจัดการความรู้สึกผิดของสมาชิกครอบครัว และเจตคติของครอบครัว มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถวัดองค์ประกอบการจัดการภาระครอบครัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้
2. การจัดการภาระครอบครัวมีอิทธิพลต่อความสุขในครอบครัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .89 และสามารถทำนายความเข้มแข็งของครอบครัวได้ร้อยละ 71
3. การปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการส่งผลให้การจัดการภาระครอบครัวและความสุขในครอบครัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น พบว่า การจัดการภาระครอบครัวและความสุขในครอบครัวระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผล ในกลุ่มที่ได้รับการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ครอบครัว -- แง่จิตวิทยา |
|
dc.subject |
ความสัมพันธ์ในครอบครัว |
|
dc.subject |
ครอบครัว -- สุขภาพและอนามัย |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา |
|
dc.subject |
โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย -- การดูแล |
|
dc.title |
การเสริมสร้างการจัดการภาระครอบครัวและความสุขในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการ |
|
dc.title.alternative |
The enhncement of fmily burden mngement mngement nd fmily hppiness of stroke ptient through integrtive fmily counseling |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this research were 1) to study and to develop family burden
management of stroke patient and family happiness through assimilative family counseling.
2) to study the effectiveness of the developed family burden management toward family
happiness. The participants were stroke patients and their couple, who were treated in hospitals in
the National Health Service 6 of Thailand. There were two steps in this research. The first step
aimed to develop research instruments for the family burden management by using 776 persons
from 388 families as participants to study the components of family burden management and
study family burden management influence to family happiness on stroke patients. The second
step aimed to study the effectiveness of the counseling program family burden management over
family happiness of stroke patients through assimilative integrate family counseling, by using 40
persons from 20 families, including patients and their couple who received the treatment at the
Rayong hospital. The participations in this step were selected from 83 families who had the
family burden management score lower than the 25th percentile and had complete inclusion
criteria. Matching group was done for preventing of bias and then was simple random sampling
for control and experimental group. The experimental group received the intervention based on
assimilative integrate theory family counseling program (12 sections, 60-90 minutes in each
section). The research instruments were questionnaire for family burden management, family
happiness and assimilative integrate theory family counseling program. The data were analyzed
and LISREL program for confirmatory factor analysis.
The results of this study were as follows:
1. The factor analysis showed that the family burden management of stroke patients
consisted of four elements 1) family strain management, 2) family conflict management,
3) family guilt management and 4) family attitude. These four elements had a moderate to high
factor loading at the .05 level, and they could be able to measure the family burden management
of stroke patients.
2. The family burden management influenced the family happiness on stroke patients
with coefficient of influence was .89 and could predict family happiness about 71 percentages.
3. The assimilative integrate counseling program affected the mean score of family
burden management and family happiness in stroke patients after participating in the sections, and
in the follow up phases the scores of after participating in session were higher than before
sections the program with statistically significance at the .05 level. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
จิตวิทยาการปรึกษา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|