Abstract:
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของครู และความผูกพันต่อองค์การ โรงเรียนสาธิตในกรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การ และสร้างสมการพยากรณ์ความผูกพัน ต่อองค์การของครูโรงเรียนสาธิตในกรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนสาธิตในกรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 186 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าร้อยละ (Percentage) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การทดสอบรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ความสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson's simple correlation) การวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. แรงจูงใจในการทำงานของครูโรงเรียนสาธิตในกรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบแรงจูงใจของครูโรงเรียนสาธิตในกรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ ปัจจัยจูงใจจำแนกตามเพศ โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยค้ำจุน จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ความผูกพันต่อองค์การของครูสาธิตในกรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 4. การเปรียบเทียบความผูกพันองค์การของครูสาธิตในกรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ โดยรวมจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. แรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนสาธิต ในกรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ มีความสัมพันธ์กันทางบวก โดยรวมอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. แรงจูงใจในการทำงานของครู ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนสาธิตในกรุงเทพมหานครสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 7. ความรับผิดชอบ (X14) การปกครองบังคับบัญชา (X22) ลักษณะของงาน (X13) และสภาพการทำงาน (X24) สามารถพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนสาธิต ในกรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ ภาพรวมได้ร้อยละ 40.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยสามารถเขียนรูปแบบของสมการการพยากรณ์ ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้ = 1.028 + .318 (X14) + .138 (X22) + .190 (X13) + .123 (X24) หรือสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = .285(Z14) + .190 (Z22) + .229 (Z13) + .142 (Z24)