DSpace Repository

ผลการปรึกษากลุ่มเกสตัลท์ที่มีต่อความเหนื่อยหน่ายของผู้ป่วยที่ต้องทำการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล
dc.contributor.advisor ดลดาว ปูรณานนท์
dc.contributor.author ปริยา อัศวเมธาพันธ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:39:00Z
dc.date.available 2023-05-12T03:39:00Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7220
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการให้การปรึกษากลุ่มเกสตัลท์ ต่อความเหนื่อยหน่ายของผู้ป่วยที่ต้องทำการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่ต้องทำการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเอง โรงพยาบาลบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จำนวน 20 คน ที่มีคะแนนความเหนื่อยหน่ายในการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเองตั้งแต่ปานกลางขึ้นไป และสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จากนั้นสุ่มอย่างง่ายเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือในการศึกษาประกอบด้วยแบบวัดความเหนื่อยหน่ายของมาสลาช และ แจ็คสัน (Maslash & Jackson) จำนวน 22 ข้อ และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเกสตัลท์ โดยกลุ่มทดลอง ได้รับการปรึกษา 12 ครั้ง การเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะ หลังการทดลอง และระยะติดตามผล จากนั้นนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบวัดซ้ำประเภทตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีแบบนิวแมน-คูลส์ ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลอง ต่อความเหนื่อยหน่ายในการล้างไตทางช่องท้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ป่วยที่ต้องทำการล้างไตทางช่องท้องที่ได้รับการปรึกษากลุ่มเกสตัลท์ที่มีต่อความเหนื่อยหน่ายในการล้างไตทางช่องท้องต่ำกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05และผู้ป่วยที่ต้องทำการล้างไตทางช่องท้องกลุ่มทดลองมีความเหนื่อยหน่าย ในการล้างไตในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การล้างไตทางช่องท้อง
dc.subject ความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา)
dc.subject จิตบำบัดแบบเกสตัลต์
dc.subject การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
dc.subject ไตวายเรื้อรัง -- ผู้ป่วย
dc.title ผลการปรึกษากลุ่มเกสตัลท์ที่มีต่อความเหนื่อยหน่ายของผู้ป่วยที่ต้องทำการล้างไตทางช่องท้องด้วยตนเอง
dc.title.alternative The effects of Gestlt Group counseling on burnout in peritonel dilysis ptients
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study the effects of Gestalt group counseling on burnout of peritoneal dialysis patients. The sample used in the study consisted of twenty peritoneal dialysis patients who had burnout score at moderate to high level. The sample were divided into two groups through random sampling method and then were assigned into the experimental group and control group (Each with 10 subjects). The instruments in this study include burnout scales of Maslach and Jackson, comprising 22 items and Gestalt group counseling program. The experimental group received 12 sessions of Gestalt group counseling. The data collecting procedure was done in three phases: the pre-test, the post-test and the follow-up. The collected data were analyzed by repeated-measures analysis of variance: one between-subjects variable and one within-subjects variable and pair-different test by Newman-Keuls procedure. The results showed that there was an interaction between the method and the duration of experiment at the .05 level. The peritoneal dialysis patients in the experimental group demonstrated lower burnout scores than the ones in the control group in the post-test and follow-up phase at the statistical significance of .05. The scores from the post-test and the follow-up in the experimental group were found to be lower than the pre-test at the statistical significance of .05. The study suggests that Gestalt group counseling program should be implemented in early treatment of peritoneal dialysis patients for preventing of burnout. It’s helpful to prepare their mind, self-acceptability and encouragement to patients for long term peritoneal dialysis.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account