Abstract:
การวิจัยเรื่อง ประสบการณ์ของครูผู้ร่วมโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียน 5 แห่งซึ่งสังกัดเทศบาลที่คัดสรรแห่งหนึ่งทางภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์ เพื่อบรรยายประสบการณ์ของครูผู้ร่วมโครงการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบบธรรมชาติวิทยา รวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักคือครู 19 คน ร่วมกับการวิเคราะห์เอกสาร
ประสบการณ์ของครู จำแนกได้เป็น 6 ประเด็นคือ 1) วิธีการฝึกอบรม ซึ่งช่วงแรกสอนโดยครูชาวต่างชาติ ครูแสดงความคิดเห็นว่าเรียนไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ เมื่อมีการปรับเปลี่ยนโดยจัดฝึกการใช้ภาษาอังกฤษในห้องเรียน (Classroom English) ครูพึงพอใจ สนุกสนาน และสามารถปรับใช้สิ่งที่เรียนในการเรียนการสอน 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับครูต่างชาติ ครูไม่พึงพอใจครูผู้ฝึกอบรมชาวต่างชาติที่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมไทยและแสดงคำพูดที่ไม่สุภาพต่อครู 3) ช่วงเวลาของการฝึกอบรม ครูไม่มีเวลาส่วนตัวในช่วงแรกที่จัดการฝึกอบรมในวันหยุดสุดสัปดาห์ เมื่อเปลี่ยนมาเป็นฝึกอบรมโดยหลีกเลี่ยงวันหยุด ครูรู้สึกสบายใจขึ้น 4) เนื้อหาสาระในการฝึกอบรม ครูแสดงความคิดเห็นว่าเนื้อหาไม่สอดคล้องกับวิชาที่ครูต้องสอน และกังวลกับผลเสียที่จะเกิดกับนักเรียน 5) หนังสือตำราและสื่อการเรียนการสอนยากและไม่ตรงกับหลักสูตรของไทย 6) การนิเทศและประเมินผล ไม่มีแผนและสับสน
ส่วนประสบการณ์ต่อการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอน แยกตามระดับการสอน 3 ระดับ คือ ครูผู้สอนระดับอนุบาล พึงพอใจในการใช้ภาษาอังกฤษ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 รู้สึกว่าใช้เวลามากในการสอนให้นักเรียนเข้าใจ และครูผู้สอนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 รู้สึกว่านักเรียนเครียดเพราะยากกว่าโปรแกรมปกติ
ผลงานที่เกิดจากการฝึกอบรม และ ความรู้สึกทางด้านบวกที่เกิดขึ้น คือความสุขใจ และการได้พัฒนาตนเอง ส่วนปัญหาและอุปสรรคของครูผู้เข้ารับการฝึกอบรม มี 1) ความไม่ชัดเจนของโครงการ 2) ความคาดหวังของผู้บริหารที่สูงเกินความสามารถของครู 3) การใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่คุ้นเคย 4) การขาดแคลนอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน 5) ความวิตกกังวลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 6) การไม่ได้รับความช่วยเหลือด้านวิชาการจากทีมนิเทศ และสิ่งที่ครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมอยากได้รับการสนับสนุนการช่วยเหลือคือการให้คำปรึกษา การจัดหาหนังสือตำราคู่มือครู อุปกรณ์การเรียนและสื่อการสอน
ข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้ผลการวิจัย 3 ด้านคือ 1) ด้านการจัดการ ควรมีการกำหนดนโยบาย แผนการดำเนินงาน แผนปฏิบัติงาน การจัดเตรียมความพร้อมของครู การกำกับ ติดตามและประเมินผล ที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากครูผู้รรับการฝึกอบรม 2) ด้านการศึกษา ควารจัดหลักสูตรรูปแบบการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับความต้องการของครู การคัดสรรครูชาวต่างชาติควรคำนึงถึงความเข้าใจในวัฒนธรรมประเพณี และระบบการศึกษาของไทยด้วย 3) ด้านการเพิ่มผลสำเร็จ โดยส่งเสริมให้เกิดความสุขใจ สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี ความเอื้อเฟื้อและ การเอาใจใส่ดูแลสม่ำเสมอของผู้บังคับบัญชาและเพื่อนครู
Abstract
This purpose of this qualitative research was to describe the experience of the teachers who attended the intergrated English project in preprimary and primary level at selected primary schools in the eastern region. The participants were 19 teachers employed in the 5 schools which adopted the intergrated English Project (EISP). Data was collected from the in-depth interviews, observations and document reviewed.
The results were presented into three sections; 1) experienc toward the training program 2) experience of using English in their teaching and 3) experience toward the outcome of the program.
First, teachers expressed their frustration of the training process that at the first period used foreign teacher but teachers felt better when used classroom English technique. Teachers stated that foreigner teacher's bad attitude resulted in impolite manner toward the trainess. The training period which was the weekend did not fit their needs. The training curriculum did not fit with Thai curriculum. The teaching materials from another country did not correspond with Thai context and there was no plan for supportive and evaluation system from the trainers.
Second, teachers experience of using English in their teaching. The teachers in the pre-primary level expressed that they could use more English in their teaching but they still need to learn more English vocabulary. The teachers at the first level stated that they spent too long time in making student understand the lessons, and the teachers at the fourth level expressed that the English program was more difficult than the usual program and might result in the frustrated students. Teachers were anxious and frustrated when teaching in English especial in Mathematic and Science classes.
Third, success and barrier were the outcome of the program. The success was the positive perception which was the happiness and the feeling of self development. Six important barriers were 1) the training project was unclear 2) high expectation from the administrators 3) the unfamiliar with English language 4) insufficiency of teaching materials 5) the anxious about students' outcome and 6) lack of support from the consulting team. Teachers expressed their need for supporting in term of teaching material, teacher' guideline, and closed supervision
To make the program succeed, several recommendations were proposed. Policies, planning, teachers preparing, implementing, following and evaluating should be clear and concreted. The curriculums and training process should relate to teachers' needs. Understanding in Thai culture and Thai educational system should be considered for recruiting the foreign teachers Happiness of the attendees can be created by providing good working environment, maintaning good relationship between teachers, supervisor, and administrator.